Page 175 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 175
ต้นแบบหรือแรงบันดาลใจส าคัญของพระพุทธรูปทวารวดีคือ ศิลปะอินเดีย (สมัย
อมราวดี คุปตะ-หลังคุปตะ และปาละ) และยังมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้เองด้วยทั้งศรีวิชัยและเขมรโบราณ ส่วนพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีอย่าง
แท้จริงนั้นมีพุทธลักษณะเฉพาะคือ หากประทับนั่งจะขัดสมาธิราบแบบหลวมๆ ตามแบบศิลปะ
อมราวดี แต่ก็มีที่ประทับนั่งห้อยพระบาท, พระพุทธรูปนาคปรก (ภาพที่ 134) และพระพุทธรูป
นอนคือปางปรินิพพานด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วพระพุทธรูปทวารวดีมักประทับยืนตรง (สมภังค์)
ขอบจีวรตกลงมาเท่ากันทั้ง 2 ข้าง นิยมแสดงวิตรรกะมุทรา หรือปางแสดงธรรมทั้ง 2 พระหัตถ์
4
พระพักตร์มักมีพระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระนาสิกแบน และพระโอษฐ์หนา
(ภาพที่ 135)
ภาพที่ 134 พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะทวารวดี พบที่จังหวัดปราจีนบุรี
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
169