Page 17 - ถึงอาวุโส... สมองก็โอเคได้
P. 17
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเรื่อง
“ลืมเลือน สัญญาณเตือนสมองเสื่อม”
อ่านต่อ
ก่อนจะฝึกกระตุ้นความจํา เรามาทําความรู้จัก
กับ “ความจํา” กันดีกว่า
ทําความรู้จักกับความจํา
ในการที่เราสามารถจำเรื่องราว ข้อความ หรือข้อมูลใด ๆ ได้นั้น จำเป็นต้องผ่าน
กระบวนการจำเริ่มแรกจะต้องมีสิ่งมากระตุ้นการรับรู้ผ่านอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เช่น
ตา-มองเห็นภาพ, หู-ได้ยินเสียง, จมูก-ดมกลิ่น, ลิ้น-รับรู้รสชาติ และผิวหนังบริเวณต่าง ๆ
ของร่างกาย-สัมผัสรับรู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หลังจากนั้นความจำส่วนแรกที่เกิดขึ้น คือ
ความจำอาศัยความรู้สึก (sensory memory) ระหว่างที่ความจำอาศัยความรู้สึก
เกิดขึ้น หากข้อมูลที่อยู่ในระบบความจำมีความสำคัญและระหว่างนั้นมีความใส่ใจ
(attention) ในการรับข้อมูลมากพอ จะเกิดความจำระยะสั้น ซึ่งจะคงอยู่ได้ใน
ระยะเวลาหนึ่ง (เพียงไม่กี่นาที) และเมื่อเวลาผ่านไปหากมีการทบทวนความจำระยะสั้น
อยู่บ่อย ๆ ข้อมูลก็จะบันทึกเข้าสู่ระบบความจำระยะยาว
คณะแพทยศาสตร-โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 17