Page 63 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 63

กิจกรรมที      ่
                    2                    อะไรอยู่ในกระเป๋าฉุกเฉิน











                   สาระสําคัญ
                   “กระเป๋าฉุกเฉิน” เป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรรู้ เพราะไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์น้ำท่วม พายุถล่ม แผ่นดินไหว ฯลฯ
             ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เผชิญกับภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง การเตรียมตัวรับมือให้พร้อมอยู่เสมอ

             และมีความรู้เรื่องการเอาตัวรอด และสิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด เพศใด

             ก็ควรต้องมีกระเป๋าฉุกเฉินของตนเอง



                    จุดประสงค์
                 1. บอกสิ่งของที่จำเป็นต้องมีไว้ในกระเป๋าฉุกเฉินได้

                 2.  สามารถนำกิจกรรมไปปรับใช้ในการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษาของตนเองได้



                    อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้

                 1.  ป้ายสำหรับเกมจับคู่
                 2. ใบงาน มีอะไรอยู่ในกระเป๋าฉุกเฉิน จำนวนเท่าผู้เรียน

                 3. ใบงาน  สิ่งของฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยพิบัติ จำนวนเท่าผู้เรียน
                 4. ใบความรู้ การจัดกระเป๋าฉุกเฉิน จำนวนเท่าผู้เรียน

                 5. กระดาษขนาด A4, กระดาษฟลิบชาร์ท  พร้อมปากกา  กระดาษกาว



                    เวลาทีใช้ 60 นาที
                           ่


                      ้
                    ขันตอนการดําเนินกิจกรรม
                 1. ผู้จัดการเรียนรู้เริ่มการสนทนาก่อนเข้าสู่กิจกรรมที่เตรียมไว้ โดยสุ่มถามผู้เรียนในห้อง โดยระหว่างที่ผู้เรียน
                       ตอบคำถาม ให้จดขึ้นไว้บนกระดาน

                     “หากต้องออกจากบ้านอย่างเร่งรีบเพราะเหตุฉุกเฉิน อะไรคือสิ่งของสำคัญที่ต้องหยิบติดตัวไปด้วย”
                 2. ชวนผู้เรียนดูคำตอบที่ได้จากการระดมความเห็น และอธิบายว่าการจะนำสิ่งของเหล่านี้ไปได้ครบนั้น จำเป็น

                       ต้องมีการเตรียมข้าวของเหล่านี้ไว้ในที่ๆ หยิบฉวยง่าย ซึ่งเราเรียกกันว่า “กระเป๋าฉุกเฉิน” ดังนั้น ในกิจกรรมนี้
                       เราจะมาฝึกจัดลำดับข้าวของที่จำเป็นสำหรับกระเป๋าฉุกเฉิน ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้ในหลายที่ เพื่อให้ผู้เรียน

                       นำไปใช้กับการเรียนการสอนในห้องเรียนของตนเองได้
                   3. ให้ผู้เรียนทุกคนหยิบป้ายที่คว่ำไว้คนละ 1 ป้าย เมื่อทุกคนหยิบครบแล้ว ให้ผู้เรียนแสดงป้ายที่ตนเองได้รับว่า

                       คืออะไร โดยทุกคนชูขึ้นพร้อมกัน ให้เวลาเพียงแค่ 1 วินาที เมื่อหมดเวลา ผู้จัดการเรียนรู้บอกให้ทุกคน

                       เอาป้ายลงโดยคว่ำป้ายไว้






                                                                                                                 58
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68