Page 64 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 64

4. จัดการเรียนรู้ขออาสาสมัครคนแรกชูป้ายของตัวเองอีกครั้งว่าคืออะไร แล้วให้เดาว่า เพื่อนคนไหนที่ได้ป้ายชื่อ
                    เดียวกัน โดยให้ทายแค่ครั้งเดียว หากทายถูก ให้ทั้งสองคนไปนั่งด้วยกัน แต่หากทายผิด ให้ผู้เรียนไปนั่งแทนที่

                   คนที่เราทายผิด และให้คนนั้นออกมาชูป้ายของตน พร้อมเดาว่า คนไหนคือคนที่ได้ป้ายสิ่งของชื่อเดียวกัน

                  หากทายถูก ผู้จัดการเรียนรู้ก็สุ่มเรียกคนใหม่ให้ออกมาชูป้ายของตนเองและทายว่าเพื่อนคนไหนได้ป้ายชื่อเดียวกัน

                5. เมื่อทุกคนในห้องได้คู่กันครบแล้ว ให้แจกใบงาน สิ่งของฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยพิบัติ เพื่อให้ช่วยกันตัดสินใจว่า
                    สิ่งของแต่ละชิ้นจัดอยู่ในสิ่งของประเภทใด และเขียนหมายเลขไว้หน้าสิ่งของนั้น  ตามคำสั่งในใบงาน

                6. เมื่อทุกคนจัดสิ่งของในกระเป่าฉุกเฉินเสร็จครบทุกคู่แล้ว ผู้จัดการเรียนรู้ชวนทุกคนเฉลยใบงาน โดยใช้ข้อมูล

                    จากใบความรู้ การจัดกระเป๋าฉุกเฉิน เพื่อตรวจสอบว่าทุกคนเข้าใจตรงกันถึงประเภทของสิ่งของที่จำเป็น
                    สำหรับกระเป๋าฉุกเฉิน

                7. หลังจากเฉลยครบทุกข้อแล้ว ผู้จัดการเรียนรู้ชวนคุยต่อ โดยให้ข้อมูลว่าหากเกิดภัยพิบัติในระหว่างที่อยู่ในรถ

                    หรืออยู่ในที่ทำงาน  มีสิ่งของบางอย่างที่จำเป็นต้องมีไว้ในสถานที่เหล่านี้ นอกเหนือจากในกระเป๋าฉุกเฉิน
                8. แจกใบงาน สิ่งของฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยพิบัติ ให้ทุกคนทำรายการว่า สิ่งของแต่ละรายการ ควรเตรียมไว้

                    สำหรับสถานที่ใดบ้าง กระเป๋าฉุกเฉิน บ้าน ที่ทำงาน ในรถยนต์  หลังจากผู้เรียนทุกคนเลือกได้แล้วว่า

                    อะไรควรอยู่ที่ไหน ให้ผู้จัดการเรียนรู้ แบ่งกลุ่มย่อยผู้เรียนออกเป็นกลุ่มละ 4-9 คน และให้แลกเปลี่ยนคำตอบ
                    กันว่าใครเห็นตรงกันในข้อไหนบ้าง หากมีรายการสิ่งของที่เห็นไม่ตรงกัน ให้แลกเปลี่ยนเหตุผลและโหวต

                    ในกลุ่มว่า จะให้รายการนั้นอยู่ในสถานที่ไหน และเขียนคำตอบแต่ละรายการลงบนกระดาษฟลิบชาร์ท

                    เพื่อเตรียมนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่

                 9. เมื่อหมดเวลาในการระดมความเห็นในกลุ่มย่อย ผู้จัดการเรียนรู้ขออาสาสมัครผู้เรียนหนึ่งกลุ่มให้นำเสนอ
                    คำตอบของกลุ่ม และถามกลุ่มที่เหลือว่า มีข้อไหนที่เห็นแตกต่าง พร้อมทั้งขอเหตุผล

                10. ผู้จัดการเรียนรู้ชวนคุยโดยสรุปการเรียนรู้ว่า กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ต้องการให้ทุกคนเห็นความสำคัญ

                     ของการเตรียมกระเป๋าฉุกเฉิน ซึ่งบรรจุสิ่งของต่างๆ ที่จำเป็นหากเกิดภัยพิบัติ รวมทั้งการตรวจสอบถึงสถานที่ๆ
                     เหมาะสมที่สุดสำหรับวางกระเป๋าฉุกเฉิน จากนั้น จบกิจกรรมด้วยการชวนคุย โดยตั้งคำถามเพื่อประเมินผล

                  ผู้เรียน ดังนี้



                  .          ่

                  .
                  คําถามเพือประเมินผู้เรียน
                  .
                     กระเป๋าฉุกเฉิน ควรวางไว้บริเวณไหนของบ้าน เพราะอะไร
                     เราควรตรวจสิ่งของที่ใส่ไว้ในกระเป๋าฉุกเฉินบ่อยแค่ไหน เพราะอะไร

                     สำหรับผู้หญิงและเด็กเล็ก ควรมีสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวเพิ่มเติมอะไรอีกบ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่
                  .
                         แล้วหรือไม่ ถ้ามี ควรเพิ่มอะไร เพราะอะไร
                     หากจะนำกิจกรรมนี้ไปใช้ในห้องเรียน คิดว่าจะปรับใช้อย่างไรให้เหมาะกับวัยผู้เรียนของตนเอง












      59
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69