Page 18 - คู่มือแผนการสอนเรื่องภัยพิบัติและการปกป้องคุ้มครองเด็ก ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19
P. 18
กิจกรรมความหมายและประเภทของภัยพิบัติ
สาระส�าคัญ
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือ การให้การศึกษา เมื่อคนมี
ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติ ก็จะสามารถตัดสินใจท�าในสิ่งที่ดีกว่าในขณะที่เกิดภัย
จุดประสงค์
1. ผู้เรียนบอกความหมายของภัยพิบัติและประเภทของภัยพิบัติได้
2. ผู้เรียนบอกสัญญาณที่อาจเป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งวิธีการรับมือทั้งก่อน
ระหว่างและหลังเกิดภัยพิบัติได้
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบความรู้ประกอบใบงานส�าหรับผู้เรียน “รู้จักภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
2. ชุดสื่อใบงาน “ความหมายและประเภทของภัยพิบัติ”
ขั้นตอนการด�าเนินกิจกรรม
1. ผู้สอนท�าความเข้าใจเนื้อหาในใบความรู้ที่เตรียมไว้ให้ผู้เรียน รวมทั้งวิธีท�าใบงานก่อนส่งให้ผู้เรียน
2. ผู้สอนจัดเตรียมสื่อให้เท่าจ�านวนผู้เรียน แต่ละคนจะได้รับชุดสื่อใบงาน 1 ชุดประกอบด้วย
ใบความรู้ประกอบใบงานส�าหรับผู้เรียน “รู้จักภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
กระดาษบอร์ดเกม 1 แผ่น
กระดาษส�าหรับตัดประกอบเป็นลูกเต๋า 1 แผ่น
ใบงานส�าหรับผู้เรียนตอบค�าถาม 6 แผ่น
3. นัดหมายเวลากับผู้เรียนเพื่อน�าส่งสื่อพร้อมใบงาน โดยผู้สอนจัดเวลาให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงใบ
ความรู้ที่ได้รับแบบตัวต่อตัวเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสท�าความเข้าใจเนื้อหา พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติม
หากผู้เรียนมีค�าถาม
4. หลังจากอ่านจบ ชวนผู้เรียนเล่นบอร์ดเกม เพื่อเป็นการสาธิตวิธีเล่นให้ผู้เรียนสามารถเล่นได้เอง
เมื่ออยู่ตามล�าพัง
5. ให้ผู้เรียนตอบค�าถามโดยเขียนลงในใบงานเพื่อทดสอบความเข้าใจ 1 - 2 ข้อ
6. นัดหมายเวลากับผู้เรียน เพื่อให้ส่งใบงาน โดยย�้าให้ผู้เรียนตอบค�าถามครบทุกข้อ
7. ผู้สอนตรวจใบงานและนัดหมายพูดคุยกับผู้เรียนที่ตอบค�าถามได้น้อยกว่าเกณฑ์การวัดและ
ประเมินผลที่ตั้งไว้
16 คู่มือแผนการสอนเรื่องภัยพิบัติและการปกป้องคุ้มครองเด็ก ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19
ส�าหรับช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4 - 6)