Page 111 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 111

แผนผังคล้ายคลึงกันและมี “วัตถุในวัฒนธรรมแบบฟูนัน” ขณะที่บริเวณ
              สามเหลี่ยมปากแม่น ้าโขงมีร่องรอยของเมืองแบบดังกล่าวไม่มาก และได้รับ
              การศึกษาไปเพียงเมืองเดียวในขณะนั้นคือ เมืองออกแก้ว
                       ที่ส าคัญคือ เมืองอู่ทองเป็นสถานที่ที่ค้นพบโบราณวัตถุทาง

              ศาสนาที่มีความเก่าแก่ก่อนหน้าสมัยทวารวดี เช่น แผ่นดินเผาภาพพระสงฆ์
              อุ้มบาตร (ภาพที่ 32) และปูนปั้นภาพพระพุทธรูปนาคปรก (ภาพที่ 33) ซึ่งมี
              ลักษณะของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี และผลิตขึ้นที่อู่ทองเองเพื่อใช้ส าหรับ
              ประดับศาสนสถาน นอกจากนี้ก็มีที่ประทับตรามีจารึก เครื่องประดับ
              ตะเกียงดินเผาแบบโรมันหรืออินเดีย (อานธระหรืออมราวดี)  หลักฐานที่
              กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 9–10 ในขณะที่
                                                                    167
              หลักฐานส่วนใหญ่จากเมืองออกแก้วนั้นเป็นวัตถุที่น าเข้ามาจากต่างถิ่น


























                       ภาพที่ 32 แผ่นดินเผาภาพพระสงฆ์อุ้มบาตร พบที่เมืองอู่ทอง
                            จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง





                                          100
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116