Page 113 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 113
แม้ว่าโบราณวัตถุส่วนใหญ่จากเมืองอู่ทองที่กล่าวถึงข้างต้นจะไม่
ได้มาจากการขุดค้นชั้นดินทางโบราณคดี แต่การขุดค้นใน พ.ศ. 2541
น าโดย สุรพล นาถะพินธุ แห่งภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร ในพื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ใกล้กับ
คูเมืองด้านทิศตะวันออก พบว่าน่าจะมีการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นเมื่อช่วง
ราว 1,700–1,500 ปีมาแล้ว คือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9–11 และสันนิษฐาน
ด้วยว่าอาจมีการอยู่อาศัยมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ก็ไม่ควรเก่าไปกว่า 1,900
172
ปีมาแล้ว หรือช่วงพุทธศตวรรษที่ 7
การขุดค้นของผู้เขียนเองเมื่อ พ.ศ. 2557 บริเวณบ้านเนิน
พลับพลาทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอู่ทองก็พบว่า ชั้นกิจกรรมระดับล่าง
ในหลุมขุดค้นน่าจะมีอายุอยู่ในช่วง พ.ศ. 892-942 คือในช่วงปลาย
173
พุทธศตวรรษที่ 9 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 และการขุดค้นที่เนิน
พลับพลาเมื่อ พ.ศ. 2558 โดยภาควิชาโบราณคดีก็ได้ตัวอย่างถ่านและ
เปลือกหอย (จ านวน 7 ตัวอย่าง) จากชั้นกิจกรรมช่วงกลางและช่วงล่างใน
174
หลุมขุดค้นไปก าหนดอายุได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-11
ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้โดยไม่ต้องพยายามเชื่อมโยงเข้ากับ
“จินหลิน” ในเอกสารจีนว่า เมืองอู่ทองมีบทบาทเป็นเมืองท่าค้าขายที่ส าคัญ
แห่งหนึ่ง คือร่วมสมัยกับเมืองออกแก้ว (ฟูนัน) และควนลูกปัด (ตักโกลา)
ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงความส าคัญและต าแหน่งที่ตั้งของเมืองท่าทั้ง 3 แห่งนี้แล้ว
ก็สามารถกล่าวได้ว่า บริเวณอ่าวไทยได้เกิดเครือข่ายการค้าหรือ
สามเหลี่ยมเศรษฐกิจขึ้นแล้ว (ออกแก้ว-อู่ทอง-ควนลูกปัด) ตั้งแต่ช่วง
ก่อนหน้าสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 6-11
น่าสังเกตว่าการล่มสลายของฟูนัน (พร้อมกับการเรืองอ านาจขึ้น
แทนที่ของเจนละในกัมพูชา) ในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 คงมีผล
ท าให้บ้านเมืองที่เคยตกอยู่ภายใต้อาณาจักรฟูนันตั้งตนเป็นอิสระ หรือถ้า
หากมีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับฟูนันก็จะเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
102