Page 109 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 109

10 แห่ง และหนึ่งในนั้นคือ “จินหลิน”  (Chin-lin) หรือ “ดินแดนทอง” ซึ่งเป็น
                            158
              เป้าหมายสุดท้าย  เอกสารจีนกล่าวว่าจินหลินตั้งอยู่ที่อ่าวใหญ่ ห่างจาก
              ฟูนันมาจากตะวันตกประมาณ 2,000 ลี้ เป็นแหล่งแร่เงิน และประชาชนนิยม
                                159
              คล้องช้างป่าเพื่อเอางา  ซึ่งพอล วิทลีย์ (Paul  Wheatley) เคยเสนอว่า
              จินหลินอยู่ที่ใดที่หนึ่งบริเวณอ่าวไทยตอนบน แต่แร่เงินนั้นคงน ามาจากรัฐ
                            160
              ฉานของเมียนมาร์
                       ลอร์เรนซ์ พาลเมอร์ บริกส์ (Lawrence  Palmer  Briggs)  และ
              ยอร์ช เซเดส์ (George  Cœdès) มีความเห็นว่าจินหลินอาจตรงกับดินแดน
              สุวรรณภูมิ (ดินแดนแห่งทอง) ซึ่งอยู่ในบริเวณตอนล่างของประเทศพม่าหรือ
                           161
              คาบสมุทรมลายู  จนกระทั่ง ใน พ.ศ. 2511  ควอริชต์ เวลซ์ (Quaritch
              Wales)  จึงเสนอข้อสันนิษฐานว่าเมืองอู่ทองคือจินหลิน เพราะที่เมืองนี้มี
                           162
              เพนียดคล้องช้าง  (คือแหล่งโบราณคดีคอกช้างดิน ซึ่งปัจจุบันทราบแล้วว่า
              คืออ่างเก็บน ้า – ผู้เขียน) และจากการขุดค้นที่อู่ทองของเขาเมื่อ พ.ศ. 2479
              ได้พบ  เศษภาชนะลายเขียนสีแดงเป็นรูปคลื่น 3  เส้นในชั้นดินตอนล่าง
                                        163
              ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับอาณาจักรฟูนัน
                       ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2512–2513  ได้มีการขุดค้นที่บ้านท่าม่วง
              บริเวณเมืองอู่ทองโดยคณะนักโบราณคดีชาวอังกฤษ พบโบราณวัตถุที่มี
              ลักษณะคล้ายกับโบราณวัตถุจากเมืองออกแก้วของฟูนัน เช่น วัตถุดินเผา
                                              164
              ทรงกลมมีลวดลาย ห่วงโลหะ และพวยกา  เฮลมุต ลูฟส์   (H.  E.  Loofs)
              หนึ่งในคณะขุดค้นได้ก าหนดอายุจากลักษณะของชั้นทับถมทางโบราณคดีว่า
              อาจมีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 8 และมีการอยู่อาศัยสืบเนื่อง
                            165
              มาในสมัยทวารวดี   แต่ลูฟส์มีความเห็นว่าเมืองอู่ทองไม่น่าจะเป็นสถาน
              ที่ตั้งของจินหลิน เพราะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 ดินแดนแถบนี้ยังอยู่ในช่วง
                                               166
              ปลายยุคหินใหม่และช่วงต้นยุคเหล็กเท่านั้น  (ภาพที่ 31)







                                          98
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114