Page 105 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 105
โดยสรุปแล้วปัจจัยรอบด้านที่ท าให้การค้าระหว่างประเทศใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 6–11 คือ
ผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาอาศัยกันและกันในลักษณะของ
เครือข่ายการค้าโลก อันประกอบด้วย 5 ประเทศยักษ์ใหญ่ในขณะนั้น คือ
จีน เอเชียตะวันเฉียงใต้ (รายใหญ่สุดคืออาณาจักรฟูนัน) เอเชียใต้ (อินเดีย
และลังกา) เปอร์เซีย และอาณาจักรโรมัน โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี
บทบาทเป็นแหล่งผลิตสินค้าชั้นดีอย่างเครื่องเทศ ของป่า หรือไม้หอม ทั้งยัง
เป็นตลาดรับซื้อและขายส่งของพ่อค้าคนกลางด้วย
การล่มสลายของอาณาจักรฟูนัน และศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่บน
คาบสมุทรมลายู
เหตุการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้าน
ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้คือ การล่มสลายของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรก
ของพุทธศตวรรษที่ 12 เมื่อพระราชาของเจนละหรือเจินล่า คือพระเจ้า
ภววรมันที่ 1 และพระเจ้ามเหนทรวรมัน (จิตรเสน) ได้ท าสงครามขยาย
อ านาจลงมาจากทางตอนใต้ของประเทศลาว และสามารถเข้ายึดครอง
อาณาจักรฟูนันได้เบ็ดเสร็จภายใต้รัชกาลของพระเจ้าอีศานวรมันที่ 1
142
(ครองราชย์ พ.ศ. 1159–1180) โดยจีนบันทึกไว้ว่าฟูนันส่งทูตไปจีนครั้ง
สุดท้ายใน พ.ศ. 1131
ขณะที่เจนละเริ่มส่งทูตไปแทนนับตั้งแต่ พ.ศ. 1159/1160
ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ขึ้นครองราชย์ และยังส่งทูตไปจีนอีกใน
143
พ.ศ. 1166 และ 1171 เมื่อเข้าสู่สมัยราชวงศ์ถัง ด้วยเหตุนี้เครือข่าย
การค้าที่อาณาจักรฟูนันเคยมีบทบาทมากในน่านน ้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จึงค่อยๆ หมดความส าคัญและสิ้นสุดลงในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่
12
94