Page 101 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 101
125
นั้นไม่ใช่สินค้าโรมัน แต่เป็นผลผลิตจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราจึงได้
พบเหรียญโรมันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยดังกล่าวแล้วข้างต้น
อาณาจักรโบราณที่ส าคัญอีกแห่งหนึ่งของโลกคือ เปอร์เซีย ซึ่งมี
ศูนย์กลางอยู่ในเขตประเทศอิหร่านและอิรักในปัจจุบัน โดยเปอร์เซียมีการ
ติดต่อกับโลกตะวันตกคือกรีก-โรมันอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันก็ท าการ
ค้าขายกับอินเดีย เพราะสามารถควบคุมทะเลอาหรับทางตะวันตกของ
มหาสมุทรอินเดียได้ ดังนั้นพ่อค้าเปอร์เซียในสมัยราชวงศ์ปาร์เธียน
(Parthian Dynasty ช่วง พ.ศ. 296–767) และโดยเฉพาะราชวงศ์สัสสานิยะฮ์
(Sasanid dynasty ช่วง พ.ศ. 768-1194) จึงเข้ามามีส่วนในการค้าระหว่าง
126
ประเทศตามเส้นทางสายไหมทางทะเลด้วย
บทบาทด้านการค้าประการหนึ่งของเปอร์เซีย และโดยเฉพาะใน
สมัยราชวงศ์สัสสานิยะฮ์คือเป็นแหล่งผลิตก ายาน (frankincense) และยางไม้
127
หอม (myrrh) ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตผ้าไหม [น าความรู้มาจากโรมันอีกต่อ
หนึ่ง ภายหลังจากพระเจ้าชาปูร์ที่ 1 (Sharpur I) รบชนะโรมัน เมื่อ พ.ศ.
803] และเป็นตัวแทนจ าหน่ายผ้าไหมที่มาจากจีนไปยังประเทศทาง
128
ตะวันตก
ส่วนสินค้าส าคัญของราชวงศ์สัสสานิยะฮ์คือ เครื่องเงินที่มีราคา
129
สูงมาก ซึ่งบางชิ้นค้นพบในจีน รวมทั้งเครื่องแก้วคุณภาพดี โดยได้พบ
เครื่องแก้วหลายชิ้นในจีนที่น่าจะผลิตขึ้นที่เปอร์เซียในสมัยราชวงศ์สัสสา
130
นิยะฮ์ ถึงแม้ว่าบางส่วนคงเข้าไปตามเส้นทางสายแพรไหมทางบก แต่การ
ขุดค้นที่หมู่บ้าน Bianwan ในมณฑลกว่างตงทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
ซึ่งมีอายุอยู่ในสมัยราชวงศ์ทางภาคใต้ (หนานเฉา) ก็ได้พบชามที่ท าจากเงิน
แบบเปอร์เซีย และเหรียญของกษัตริย์แห่งสัสซานิยะห์ถึง 3 พระองค์ ได้แก่
พระเจ้าชาปูร์ที่ 3 (Sharpur III - ครองราชย์ พ.ศ. 926–931) พระเจ้า
ยาซเดเกิร์ดที่ 2 (Yazdegerd II - ครองราชย์ พ.ศ. 981–1000) และพระเจ้า
131
เปรอซที่ 1 (Peroz I - ครองราชย์ช่วง พ.ศ. 1002–1027)
90