Page 96 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 96

น่านน ้าของประเทศอื่นๆ (เช่น อ่าวเบงกอล หรือทะเลอาหรับ) ได้แก่ เรือ
                                       92
              อินเดีย เปอร์เซีย และเรืออาหรับ  ซึ่งต่อมาในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่
                                                93
              12 เรือประเภทหลังนี้จะเดินทางไปถึงจีนเอง
                       ข้อมูลจากแหล่งเรือจมในน่านน ้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุค

              แรกเริ่มประวัติศาสตร์นี้ (อันที่จริงแล้วตั้งแต่แรกจนถึงราวพุทธศตวรรษที่
              19) พบว่ามีเทคนิคการต่อเรือโดยใช้วิธีผูก (lash-lug) และเย็บไม้กาบเรือเข้า
              ด้วยกันด้วยเชือกที่ท าจากเส้นใยพืช (stitched-plank)  คือการเอาไม้เปลือก
              เรือ 2  ชิ้นผูกเข้าด้วยกัน แล้วจึงเอาเชือกมาวางตรงกลางแล้วเย็บเชือกเข้า
              กับไม้กาบเรือให้แน่น ซึ่งจะเป็นการยึดไม้กาบเรือเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง
              โดยได้พบซากเรือที่บ่อน ้า Kolam  Pinisi  ใกล้กับเมืองปาเล็มบัง  บนเกาะ
                                                                     94
              สุมาตราของอินโดนีเซีย ก าหนดอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 10-12
                       อย่างไรก็ตาม แหล่งเรือจมที่มีอายุเก่าที่สุดในเอเชียตะวันออก
              เฉียงใต้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9–10 พบในเขตรัฐปาหังทางตะวันออกของ
              ประเทศมาเลเซีย มีชื่อว่าแหล่ง Pontian แผ่นไม้ล าเรือที่พบมีความยาว 12
              เมตร แต่สันนิษฐานว่าเรืออาจมีความยาว 20.04 เมตร ท าจากไม้

              (merawan)  ที่หาได้ในคาบสมุทรมลายู หมู่เกาะ และที่ประเทศกัมพูชา
              น่าสนใจที่มีการวิเคราะห์จากรูปแบบพบว่าเรือล านี้อาจต่อขึ้นแถบ
                                                         95
              สามเหลี่ยมปากแม่น ้าโขงหรือบริเวณชายฝั่งของอ่าวไทย  จากการขุดค้นยัง
              ได้พบภาชนะดินเผาบางแบบคล้ายกับที่พบที่เมืองออกแก้ว ประเทศ
                     96
              เวียดนาม  โดยมีไหใบหนึ่งสูงราว 1 เมตร ซึ่งอาจบรรจุข้าวมาด้วยเพราะได้
                                           97
              พบร่องรอยของข้าวอยู่ในซากล าเรือนี้
                       นอกจากหลักฐานของเรือจมข้างต้นแล้ว ที่มาเลเซียยังได้ค้นพบ
              จารึกส าคัญหลักหนึ่งชื่อว่า ศิลาจารึกพุทธคุปตะ (The Buddhagupta Stone
              Inscription)  ค้นพบทางตอนเหนือของรัฐปีนัง (ปัจจุบันจารึกหลักจริง
              จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย) จารึกสลักอยู่บริเวณ
              สองข้างของรูปสถูปทรงกลมที่มีฐานบัวและยอดเป็นฉัตร 7 ชั้นแบบศิลปะ




                                          85
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101