Page 95 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 95
ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ส่วนเรือที่ออกจากจีนมักแล่นมายังช่องแคบ
มะละกาในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ แล้วจึงเดินทางต่อไปยังอินเดียใน
85
ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม
ส าหรับเรือสินค้าที่ล่องขนส่งผู้คนตามเส้นทางสายไหมทางทะเล
86
ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 12 นั้นไม่ปรากฏว่ามีเรือสินค้าของชาวจีนฮั่น
แต่เป็นเรือต่างชาติเช่นเรือของพวกเยว่ ดังที่บันทึกสมัยราชวงศ์เหลียงระบุ
ว่า “ที่เมืองกวางตุ้ง มีคนส่วนใหญ่มาจากเขตเกาเหลียง (พวกเยว่) และมีเรือ
สินค้าเดินทางเข้ามาหลายครั้งต่อปี พ่อค้าต่างชาติต่างเข้ามาค้าขายที่นั่น
พวกข้าราชการต่างไปหาซื้อสินค้าที่ลดราคาลงครึ่งหนึ่ง แล้วจึงน าไปขายต่อ
ตามราคาในท้องตลาด ดังนั้นพวกเขาจึงได้ก าไร อันถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
87
ที่ยอมรับได้”
นอกจากนี้ก็มีเรือของชาติอื่นๆ เช่น เรือของ Po-sse หรือ
Po-ssu ซึ่งอาจเป็นเรือของเปอร์เซียหรือกลุ่มชนในเอเชียตะวันออก
88
เฉียงใต้ เรือประเภทที่จีนเรียกว่า K’un-lun p’o ซึ่งน่าจะหมายถึงเรือจาก
89
ดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ เพราะตั้งแต่ที่จีนเริ่มติดต่อกับกลุ่มชนใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักใช้ศัพท์เรียกเขาเหล่านั้นว่าคุนหลุน (K’un-lun)
จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 12 จะใช้หมายถึงผู้คนจากหมู่เกาะใน
90
อินโดนีเซีย
เอกสารจีน Nan Chou I Wu Chi ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 กล่าว
ว่า “ชนต่างถิ่นเรียกเรือของพวกเขาว่า โป (p’o) เรือล าใหญ่มีความยาว
มากกว่า 200 ฟุต มีความสูงเหนือผิวน ้ากว่า 20–30 ฟุต บรรทุกคนได้
600-700 คน และบรรทุกสินค้าได้มากกว่า 10,000 โฮ (ho – หน่วยนับของ
91
จีน)” โดยจีนแบ่งเรือสินค้าออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือเรือที่ล่องมา
ค้าขายกับจีน โดยมีเรือจากหลินอี้ (จามปา) ฟูนัน และ Po-sse ซึ่งอาจมีเรือ
ของพวกอินเดียหรือศรีลังกาที่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมี
รูปแบบเรือคล้ายกันด้วย เรืออีกประเภทหนึ่งคือเรือที่ใช้เดินทางค้าขายใน
84