Page 93 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 93
และพระพุทธรูปที่มีอิทธิพลศิลปะคุปตะ (สกุลช่างสารนาถ) ก าหนดอายุอยู่
74
ในช่วงเดียวกันพบที่มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีนด้วย
เรือของพ่อค้าที่มีภิกษุฟาเหียนโดยสารมาด้วยรอดพ้นจาก
วาตภัยครั้งนั้น แล้วเดินทางต่ออีก 13 วัน จนมาถึงเกาะแห่งหนึ่งซึ่งอาจเป็น
75
หมู่เกาะอันดามัน จึงได้หยุดซ่อมเรือ แล้วจึงเดินทางต่อไปมุ่งหน้าเข้าสู่
ช่องแคบมะละกา ซึ่งฟาเหียนบันทึกไว้ว่า “ในทะเล (ย่านแถวนี้) มีพวกโจร
76
สลัดชุกชุม ถ้าพบกับมันก็คือความตายซึ่งจะมาถึงโดยด่วน...” ดังนั้น
อันตรายจากกลุ่มโจรสลัดบริเวณช่องแคบมะละกาคงเป็นสาเหตุส าคัญที่ท า
ให้การติดต่อค้าขายต้องอาศัยตลาดการค้าหรือบ้านเมืองที่ตั้งอยู่บน
77
คาบสมุทรมลายู เช่น เตียนซุน หรือพันพัน ดังกล่าวแล้วข้างต้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏว่าเรือสินค้าได้ปะทะกับโจรสลัด
ภายหลังจากเดินเรือมาได้มากกว่า 90 วัน ผ่านช่องแคบมะละกาแล้วก็ไปถึง
ประเทศเยโปติ (Yeh-p’o-ti) ซึ่งอาจหมายถึงดินแดนทางตะวันตกของเกาะ
78
บอร์เนียว ท่านฟาเหียนพ านักอยู่ที่เยโปติ 5 เดือน จึงเปลี่ยนมาลงเรือ
สินค้าอีกล าหนึ่งที่มีคนโดยสาร 200 กว่าคน โดยเรือแล่นไปทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ถึงเมืองกวางตุ้งในราว 50 วัน แต่เรือก็ต้อง
เผชิญกับลมพายุอีกครั้งในทะเลจีนใต้ และฟาเหียนก็บันทึกว่า “...ได้รวบรวม
ก าลังใจของตนทั้งหมดระลึกมุ่งเฉพาะถึงพระกวันซิยินและคณะภิกษุสงฆ์ใน
ประเทศฮั่นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยอ านาจอันลึกลับช่วยคุ้มครองป้องกัน จึงตลอด
79
รอดพ้นมาได้จนถึงเวลารุ่งขึ้นเช้าตรู่...” ซ ้าร้ายเรือยังเดินผิดเส้นทางท าให้
เกินก าหนดเวลาที่กะเอาไว้ รวมแล้วใช้เวลาเกือบ 90 วัน ท้ายที่สุดเรือไปขึ้น
80
ฝั่งที่เมืองจังกวัง (เมืองเจียวโจวมณฑลซานตงในปัจจุบัน) ทางตะวันออก
ของจีน เมื่อ พ.ศ. 957 รวมเวลาโดยสารทางเรือในมหาสมุทรอินเดียและ
ทะเลจีนใต้ราว 2 ปี (แผนที่ที่ 5)
82