Page 88 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 88
ในรัชศก Yuan-chia (พ.ศ. 967–996)
รัชศก Hsiao-chien (พ.ศ. 997–999) และรัชศก
Ta-ming (พ.ศ. 1000–1007) ในสมัยราชวงศ์ซุ่ง
พันพันส่งบรรณาการไปราชส านักจีน ในปีที่ 1 และปี
ที่ 4 แห่งรัชศก Ta-t’ung แห่งราชวงศ์เหลียง (พ.ศ.
1070, 1073) พระราชาพันพันส่งบรรณาการไป
ดังนี้ พระทันตธาตุ สถูปเขียนสี และน ้าหอม 10
ชนิด หกปี ให้หลัง (พ.ศ. 1079) ก็ส่งบรรณาการ
เป็นพระธาตุ สถูป ิ กะเขียนสี ใบโพธิ์ ขนมหวาน
ชั้นดี? และน ้าหอม ในรัชศก Ta’yeh (พ.ศ. 1148–
1160) สมัยราชวงศ์สุย คณะทูตพันพันก็จัดส่ง
58
บรรณาการไปยังราชส านักจีนอีก”
จะเห็นได้ว่า เอกสารจีนไม่ได้ระบุว่าพันพันเป็นเมืองขึ้น
อาณาจักรฟูนัน แต่พันพันคงมีความสัมพันธ์กับฟูนัน เพราะพระราชาฟูนัน
59
พระองค์หนึ่งมีพระนามว่าพันพัน พราหมณ์โกณฑินยะชาวอินเดียก็เคยมา
แวะที่พันพันก่อนจะเดินทางต่อไปยังฟูนันเพื่อขึ้นครองราชย์ สินค้าที่ส าคัญ
ของพันพันก็คือเครื่องหอมหรือไม้หอมซึ่งคล้ายกับฟูนัน นักวิชาการ
ส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องกันว่าพันพันคงตั้งอยู่บริเวณอ่าวบ้านดอน (แถบ
60
อ าเภอไชยาและพุนพิน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากพงศาวดารราชวงศ์
ถังระบุว่า พันพันตั้งอยู่ทางทิศใต้ของโถเหอหลัว (To-ho-lo / Tu-ho-lo)
61
ซึ่งหมายถึงทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย และมีอาณาเขตติดกับ
62
หลางยะซิ่วหรือลังกาสุกะ ซึ่งน่าจะตั้งอยู่ที่บริเวณจังหวัดปัตตานี
(จะกล่าวถึงต่อไป) ดังนั้นขอบเขตของพันพันอาจครอบคลุมไปถึงเมือง
โบราณเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และ
63
คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา รวมทั้งเขตจังหวัดพังลุงด้วยก็ได้
77