Page 97 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 97
อินเดีย จารึกนี้เป็นภาษาสันสกฤต อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11
กล่าวถึงคาถาทางพุทธศาสนาและการตั้งความปรารถนาของนายเรือหรือ
“มหานาวิกะ” ชื่อ “พุทธคุปตะ” จากดินแดนรักตมฤติกา (Raktamrttika)
98
ขอให้ประสบความส าเร็จในการเดินทาง
ค าว่ารักตมฤตติกาแปลว่า ประเทศดินแดง ซึ่งยอร์ช เซเดส์
สันนิษฐานว่าคงตรงกับประเทศที่ชาวจีนเรียกว่า “จิถู่” (Chih-t’u)
ในคาบสมุทรมลายู ซึ่งจะขอกล่าวถึงต่อไปในตอนท้ายของบทนี้ แต่ “รักตมฤ
ติกา” ในจารึกพุทธคุปตะน่าจะตรงกับแหล่งโบราณคดี Rajbadi-danga
ในเขต Murshibadad รัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย จากการขุดค้นได้พบ
ตราประทับมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–13 ระบุถึงคณะสงฆ์แห่ง
99
“รักตมฤติกามหาวิหาร” ดังนั้นนายเรือพุทธคุปตะจึงน่าจะออกเดินทางจาก
ทางตะวันตกของมาเลเซียไปยังทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย
กลุ่มประเทศยักษ์ใหญ่ในเครือข่ายการค้าโลกสมัยโบราณ
ทันเซน เซน (Tansen Sen) เสนอว่ามีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการ
ติดต่อค้าขายระหว่างอินเดียและจีนในช่วงแรกเริ่มจนถึงก่อนหน้า
พุทธศตวรรษที่ 15 คือวัดทางพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองในประเทศอินเดีย
และจีนมีส่วนอย่างมากในการสนับสนุนทุนรอนให้แก่พ่อค้าและนักเดินเรือ
พระภิกษุเองก็มีบทบาทเป็นที่พึงทางใจในการให้ความรู้สึกปลอดภัยแก่
100
พ่อค้าหรือลูกเรือที่ต้องเดินทางอันยาวไกลและอันตรายอีกด้วย ซึ่งเราเห็น
101
ได้ชัดเจนจากกรณีของภิกษุฟาเหียน
ปัจจัยข้างต้นนี้สัมพันธ์กับการเติบโตขึ้นของเมืองหลวงและเมือง
รายรอบในแคว้นต่างๆ ของจีน เอกสารสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือระบุว่า
ใน พ.ศ. 964 ที่ราชธานีคือนครลั่วหยางมีวัดกว่า 100 แห่ง มีพระและแม่ชี
ราวๆ 2,000 รูป ส่วนเมืองอื่นๆ มีวัดรวมกันราวๆ 6,478 แห่ง มีพระและแม่
ชีประมาณ 77,258 รูป จนกระทั่งในช่วงปลายของราชวงศ์เว่ยเหนือ ใน พ.ศ.
86