Page 102 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 102
ที่ประเทศศรีลังกาก็มีหลักฐานของเปอร์เซียในสมัยสัสสานิยะฮ์
132
เป็นต้นว่า เหยือกจากวัดเชตวัน ตราดินเผาจากเมืองท่าเมนไท (Mantai)
รวมทั้งเหรียญของกษัตริย์ราชวงศ์สัสสานิยะฮ์ถึง 4 พระองค์ (ตั้งแต่ช่วง
133
พุทธศตวรรษที่ 10–12) และมีการตั้งชุมชนชาวคริสต์นิกายเนสโตเรียน
134
(Nestorian) ของเปอร์เซียขึ้นที่เมืองท่า Mahatitha ที่เมืองออกแก้ว
ประเทศเวียดนามยังได้พบหัวแหวนสลักเป็นรูปการเคารพบูชาไฟและหน้า
135
ชนชาติอิหร่านสมัยราชวงศ์สัสสานิยะฮ์ด้วย
ส่วนในประเทศไทยที่แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด อ าเภอ
คลองท่อม จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นชุมชนเมืองท่าขนถ่ายสินค้าและแหล่งผลิต
ลูกปัดรายใหญ่ร่วมสมัยกับเมืองออกแก้ว (ภาพที่ 28) ก็ได้พบแผ่นหินสลัก
ตราสัญลักษณ์คล้ายรูปไก่ 2 ตัวยืนหันหน้าเข้าหากันแบบเปอร์เซีย มีอายุ
136
ราวพุทธศตวรรษที่ 10–11 ที่เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี ยังได้
137
ค้นพบเหรียญเงินของพระเจ้าเปรอซที่ 1 (ภาพที่ 29) ถึงแม้จะไม่ได้มา
จากการขุดค้นทางโบราณคดี แต่อาจใช้เป็นหลักฐานเชื่อมโยงกับการค้าของ
โลกโบราณระหว่างทั้ง 3 น่านน ้า คือ ทะเลอาหรับ (อ่าวเปอร์เซีย) มหาสมุทร
อินเดีย (อ่าวเบงกอล) และทะเลจีนใต้ (อ่าวไทยและอ่าวตังเกี๋ย)
ทั้งนี้นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า แหล่งโบราณคดีควนลูกปัดน่าจะ
ตรงกับเมืองท่าตักโกลา (Takkola) ในบันทึกของปโตเลมีและวรรณกรรมทาง
138
พุทธศาสนาของอินเดีย ส่วนเมืองยะรังคือที่ตั้งของบ้านเมือง “ลังกาสุกะ”
139
(Langkasuka) หรือ “หลางหยาซิ่ว” (Lang-ya-hsiu) ในเอกสารจีน โดยมี
ภาพราชทูตลังกาสุกะซึ่งมีผิวคล ้าและผมหยิกเดินทางเข้าไปยังราชส านัก
เหลียงของจีนปรากฏอยู่ในเอกสารสมัยราชวงศ์เหลียงที่เขียนเสร็จใน พ.ศ.
140
1082 (ภาพที่ 30) และเอกสารจีนชื่อ Wen-hsien T’ung-k’ao ที่แต่งโดย
Ma Tuan lin กล่าวด้วยว่า ลังกาสุกะมีสินค้าคล้ายกับฟูนัน เช่น ไม้กฤษณา
141
(Aloeswood) การบูร (Barus camphor) เป็นต้น
91