Page 99 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 99
ตัวอย่างเช่นคณะทูตของฟูนันได้น าเครื่องบรรณาการไปถวาย
พระจักรพรรดิจีน ซึ่งเราสามารถใช้อนุมานถึงประเภทของสินค้าที่ฟูนัน
ต้องการขายหรือจีนต้องการซื้อได้ โดยมีสินค้าที่จะใช้กันตามอารามต่างๆ
เช่น ไม้กฤษณา สถูปหรือประติมากรรมที่ท าจากไม้จันทน์และงาช้าง
106
เครื่องแก้ว เป็นต้น ส่วนสินค้าทั่วไปก็มีเป็นต้นว่า วัตถุที่ท าจากทองค า
และเงิน เครื่องประดับที่ท าจากเปลือกหอยเบี้ย งาช้าง ขนนกยูง กระดองเต่า
ปะการัง แก้วสีขุ่น ผ้าฝ้าย ไม้หอมหลายประเภท ไม้จันทน์อินเดีย ขมิ้น และ
107
ก ายาน โดยสินค้าบางอย่างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อบเชย
กานพลู การบูร ไม้จันทน์ และเครื่องหอมต่างๆ ก็เป็นที่ต้องการของตลาดใน
108
อินเดียด้วย
ในจ านวนรายการสิ่งของบรรณาการหรือสินค้าของฟูนันนี้มีบาง
รายการเป็นสินค้าที่มาจากทางตะวันตก เช่นไม้จันทน์อินเดีย ส่วนผ้าฝ้าย
109
(cotton fabric) นั้นเป็นสินค้าออกของอินเดียภาคใต้ และอาจรวมถึง
110
ปะการังจากอินเดียซึ่งเป็นที่ต้องการของราชส านักจีนและอาณาจักรโรมัน
นอกจากนี้ยังมีทับทิมและหยก ซึ่งหวาง กุงหวู่ ระบุว่าฟูนันรับมาขายต่อ
111
อีกทอดหนึ่ง (re-exported like rubies and emeralds) โดยอาจมาจาก
112
ศรีลังกาซึ่งมีอัญมณีคุณภาพยอดเยี่ยมที่สุด ภิกษุฟาเหียนบันทึกไว้ว่า
“เกาะเหล่านี้เป็นที่บังเกิดไข่มุกด์และพลอยหินอันมีค่าชนิดต่างๆ ณ ที่เกาะ
แห่งหนึ่งเป็นที่ก าเนิดไข่มุกด์น ้าดีบริสุทธิ์ เป็นเกาะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสประมาณ
200 เส้น พระราชาได้จ้างคนให้คอยเฝ้าป้องกันรักษา เพื่อประสงค์คอยเรียก
113
เก็บภาษีชักสามจากจ านวนทุกๆ สิบของไข่มุกด์ที่หาได้” ดังนั้นพ่อค้าชาว
อินเดียและศรีลังกาจึงเข้ามามีส่วนร่วมในเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศนี้
ด้วย
เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อินเดียมีบทบาทอย่างมากในเครือข่าย
การค้าโลก ทั้งกับจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโดยเฉพาะกับอาณาจักร
โรมัน ในยุคที่เรียกว่า อินโด-โรมัน (Indo-Roman Age) ราวพุทธศตวรรษที่
88