Page 100 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 100
5–9 โดยพ่อค้าชาวโรมันได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าหลายแห่งในอินเดีย
114
โดยเฉพาะอินเดียภาคใต้ (และศรีลังกา) และน าเหรียญโรมันมาใช้เป็น
115
สื่อกลางในการค้าขายแลกเปลี่ยน ดังที่ผาสุข อินทราวุธ เคยน าเสนอไว้
116
แล้ว ในที่นี้ผู้เขียนจะขอน าเสนอข้อมูลเพิ่มเติม คือมีคณะทูตอินเดียเข้าไป
117
ในจีน เมื่อ พ.ศ. 971, 984 และ 1009 ในสมัยราชวงศ์หลิวซ่ง ในสมัย
ราชวงศ์คุปตะของอินเดียก็มีการส่งทูตไปจีน 2 ครั้งในรัชกาลพระจักรพรรดิ
118
เหลียงอู่ตี้ เมื่อ พ.ศ. 1045 และ 1070 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่พุทธศาสนา
เจริญรุ่งเรืองในจีน
ส่วนประเทศศรีลังกา (จีนเรียกว่า Shih-tzu) ซึ่งเป็นศูนย์กลาง
ทางพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง ก็ได้ส่งคณะทูตไปจีนถึง 4 ครั้งในช่วงเวลา
119
ใกล้เคียงกับที่อินเดียส่งไป คือ พ.ศ. 971, 972, 978 และ 1072 บันทึก
ของ Cosmas ชาวอียิปต์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 กล่าวถึงเมืองท่าใน
ศรีลังกาที่ชื่อ Mahatitha ซึ่งมีการค้าขายพลุกพล่าน มีสินค้าทั้งจากจีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดีย Cosmas บันทึกว่า มีเรือสินค้าจาก
อินเดีย เปอร์เซีย และเอธิโอเปีย เดินทางมายังเกาะแห่งนี้ซึ่งเปรียบเสมือน
ศูนย์กลางการติดต่อค้าขาย สินค้าน าเข้าของลังกา ได้แก่ ผ้าไหม กานพลู
ไม้กฤษณา ไม้จันทน์ และอื่นๆ ตามแต่แหล่งผลิตของสินค้านั้นๆ เพื่อส่ง
ต่อไปยังเปอร์เซีย Homerite (ทางใต้ของประเทศเยเมน) และ Adule
120
(ในเอธิโอเปีย)
ส าหรับโรมันนั้น ใน พ.ศ. 709 มีทูตของพระจักรพรรดิมาร์คัส
ออเรเลียสเดินทางมายังจีน (บริเวณเวียดนามตอนกลาง - Rinan) พร้อมทั้ง
121
มอบสิ่งของต่างๆ เช่น งาช้าง นอแรด กระดองเต่า ใน พ.ศ. 824 มีคณะ
122
ทูตโรมันเดินทางล่องเรือไปจีนโดยขึ้นฝั่งที่เมืองท่ากว่างโจว โดยโรมัน
123
ขนานนามจีนว่า “ประเทศแห่งผ้าแพรไหม” (Nation of Silk) น่าสังเกตว่า
ทูตทั้งสองคณะนี้อาจไม่ได้มาจากราชส านักโรมันโดยตรง แต่อาจเป็นพ่อค้า
124
ที่อ้างตนเป็นทูต เพราะรายการสิ่งของ คือ งาช้าง นอแรด และกระดองเต่า
89