Page 106 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 106

ในเวลาใกล้เคียงกันนั้นก็มีการรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งภายใต้
              ราชวงศ์สุย (ปกครอง พ.ศ. 1132–1161) ในรัชกาลของจักรพรรดิองค์แรกคือ
              สุยเหวินตี้ การค้าขายทางทะเลยังไม่เฟื่องฟูมากนัก จนกระทั่งจักรพรรดิ
              สุยหยางตี้ขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 1147  จึงได้มีการย้ายเมืองหลวงจาก

              นครฉางอันไปยังนครลั่วหยางที่ตั้งอยู่ทางตะวันออก ใน พ.ศ. 1148 รวมถึง
              มีการก่อสร้างเมืองหลวงทางใต้คือ นครหยางโจว (Yangzhou  -  มณฑล
              เจียงซูในปัจจุบัน) ใกล้กับปากแม่น ้าแยงซี โดยมีการขุดคลองใหญ่เชื่อมต่อ
              ระหว่างเมืองหางโจว  (Hangzhou  –  มณฑลเจ้อเจียงในปัจจุบัน) กับนคร
                                                           144
              ลั่วหยาง (ในลุ่มแม่น ้าฮวงโห) โดยผ่านมาทางนครหยางโจว
                       เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ได้น ามาสู่ยุคที่เศรษฐกิจการค้าของจีน
                              145
              รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก  เพราะการสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ลั่วหยางจ าเป็นต้อง
              แสวงหาสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ มาประดับตกแต่งพระราชวัง อาทิเช่น นอแรด
              งาช้าง หนังสัตว์ ขนสัตว์ ขนนก เป็นต้น จนกระทั่งมีการกว้านซื้อสินค้า
              เหล่านี้จากพ่อค้าผู้ร ่ารวยที่เก็บสินค้าเอาไว้ในคลัง แต่นั่นก็ไม่เพียงพอต่อ
                                     146
              ความต้องการของราชส านักสุย
                       บทบาทของราชวงศ์สุยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหตุการณ์แรก
              คือ มีรายงานใน พ.ศ. 1147 ว่าประเทศหลินอี้ (จามปา) ไม่ได้ส่งบรรณาการ
              ไปจีนกว่า 10 ปีแล้ว จักรพรรดิสุยหยางตี้จึงมีพระราชโองการ (โดยหวังผล
              ทางเศรษฐกิจ) ให้ Liu  Fang  น าทหารมากกว่า  100,000  คน พร้อมด้วย
              นักโทษอาชญากรรมอีกหลายพันคนเดินทางไปปราบปรามจามปา กองทัพ
              จีนลงเรือรบที่เมืองท่าฮานอย และสามารถก าราบจามปาได้ส าเร็จใน  พ.ศ.

              1148  ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดประตูโดยตรงไปสู่แหล่งทรัพยากรของป่าหรือ
                                    147
              สินค้าฟุ่มเฟือยที่จีนปรารถนา








                                          95
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111