Page 108 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 108
ก็เดินทางไปพร้อมกับทูตจีนเพื่อถวายบรรณาการแด่องค์จักรพรรดิ
สุยหยางตี้ โดยมีสินค้าพื้นเมืองที่มีค่าดุจทองค า พระมาลาที่ตกแต่งด้วยลาย
149
ดอกชบา และการบูร ทั้งนี้คณะทูตจากจิถู่ได้ล่องเรือไปขึ้นฝั่งที่เมืองท่า
150
ส าคัญทางภาคใต้ของจีนคือฮานอยนั่นเอง
ยอร์ช เซเดส์ สันนิษฐานว่าประเทศจิถู่ หรือประเทศดินแดง
อาจตั้งอยู่บนอ่าวไทยแถบจังหวัดพัทลุง หรือแถบรัฐกลันตันทาง
151
ตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย มานิต วัลลิโภดม สันนิษฐานว่าอยู่ใน
152
บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ส่วนพอล วีทลีย์ และนัก
โบราณคดีชาวมาเลเซียคือ นิค ฮัซซัน สุไฮมี นิค อับดุล รามาน (Nik
Hassan Shuhaimi Nik Abdul Rahman) ให้ความเห็นว่าประเทศจิถู่น่าจะ
ตั้งอยู่ในเขตรัฐกลันตัน ด้วยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่สอดคล้องกับที่เอกสารจีน
153
บรรยายไว้ แต่ในเขตรัฐกลันตันยังไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีมากเพียง
154
พอที่จะมีความสอดคล้องกับข้อมูลในเอกสารจีน ขณะที่เจฟ เวด เสนอว่า
จิถู่น่าจะตั้งอยู่แถบรัฐเกดะห์ของมาเลเซียในปัจจุบัน ตรงบริเวณที่เรียกว่า
155
บูจัง วัลเลย์ (Bujang Valley)
ไม่ว่าที่ตั้งที่แท้จริงของจิถู่จะอยู่ที่ใด แต่การแปลความต าแหน่ง
ข้างต้นก็ตกอยู่ในบริเวณตอนล่างของคาบสมุทรมลายู (เขตภาคใต้ของไทย
156
ต่อกับภาคเหนือของมาเลเซีย) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนเปลี่ยนความสนใจ
จากอาณาจักรฟูนันบนพื้นแผ่นดินใหญ่ที่ก าลังระส ่าระสายและจะล่มสลายลง
ในที่สุดมายังดินแดนคาบสมุทรมลายู ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเติบโตของ
บ้านเมืองที่สามารถควบคุมช่องแคบมะละกาและช่องแคบซุนดา ซึ่งจะเป็น
157
เส้นทางการเดินเรือที่ส าคัญในช่วงพุทธศตวรรษต่อมา
“อู่ทอง” เมืองท่าการค้าโบราณก่อนหน้าสมัยทวารวดี
ย้อนกลับไปยังเอกสารจีนที่ระบุว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8
พระเจ้าฟันชิมันแห่งฟูนันทรงท าสงครามปราบปรามอาณาจักรต่างๆ กว่า
97