Page 36 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 36
3. ภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี
ภาชนะพื้นเมืองสมัยทวารวดีเป็นภาชนะเนื้อดินธรรมดา
(earthenware) ไม่มีการเคลือบด้วยน ้ายา มีเพียงการทาน ้าดินหรือเขียนสี
มีทั้งการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน (wheel throwing) และขึ้นรูปด้วยมืออิสระ
มีกรรมวิธีเผาด้วยเตากลางแจ้ง โดยวางภาชนะบนลานดินแล้วใช้กองไฟสุม
ซึ่งไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เนื้อภาชนะจึงสุกไม่เท่ากัน โดยเนื้อดินที่
ใช้ก็สามารถหาได้ในท้องถิ่นเอง ทั้งนี้สามารถแบ่งภาชนะดินเผาทวารวดีได้
64
เป็น 2 ประเภทหลักตามหน้าที่การใช้งาน คือ
ภำชนะที่ใช้ในชีวิตประจ ำวัน เช่น ชาม อ่าง หม้อก้นกลม และ
โดยเฉพาะหม้อมีสัน (carinated pot) ซึ่งพบมากที่สุดจากการขุดค้นทาง
โบราณคดี (ภาพที่ 16) การตกแต่งที่พบเป็นรูปแบบง่ายๆ เช่น ลายเชือก
ทาบ ลายขูดขีด ลายกดด้วยนิ้วมือหรือเปลือกหอย ลายประทับหรือลาย
จักสาน โดยรูปแบบและเทคนิคการตกแต่งของภาชนะกลุ่มนี้ก็ปรากฏมาแล้ว
ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และท าสืบเนื่องมาในสมัยทวารวดี ปกติแล้ว
เนื้อดินของภาชนะในกลุ่มนี้จะไม่ละเอียดมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร
ภาพที่ 16 หม้อมีสัน พบจากการขุดค้นที่บ้านเนินพลับพลา เมืองอู่ทอง
25