Page 38 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 38

สรุปลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรมสมัยทวารวดี
                       “ทวารวดี” เป็นวัฒนธรรมที่เจริญขึ้นบนดินแดนประเทศไทยใน

              ปัจจุบัน ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12–16 โดยมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรม
              ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคเหล็ก) และสมัยหัวเลี้ยว
              ประวัติศาสตร์ (proto-historic  period)  แล้วได้รับอิทธิพลจากอารยธรรม
              อินเดียที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพวิถีชีวิตของผู้คนดั้งเดิมไป โดยเฉพาะ

              ในการยอมรับนับถือศาสนา ซึ่งมีทั้งพุทธศาสนาหีนยานหรือเถรวาทที่เป็น
              หลักยึดถือของชาวทวารวดีโดยทั่วไป และศาสนาพราหมณ์ที่ปรากฏใน
              ราชส านักกษัตริย์ ซึ่งการปกครองระบอบกษัตริย์นั้นก็คงจะปรับปรุงมาจาก
              ต้นแบบคืออินเดียนั่นเอง
                       หลักฐานของวัฒนธรรมทวารวดีที่หลงเหลือให้ศึกษามีทั้งร่องรอย
              ของชุมชนหรือเมืองโบราณ จารึก โบราณสถาน และโบราณวัตถุ แม้ว่า

              ปัจจุบันจะยังไม่อาจระบุได้อย่างแน่ชัดว่าชาวทวารวดีเป็นใครหรือเชื้อชาติใด
              แต่วัฒนธรรมนี้คงผูกพันกับกลุ่มคนพื้นเมืองที่ใช้ภาษามอญโบราณ โดยเชื่อ
              ว่ามีศูนย์กลางทางวัฒนธรรมอยู่ในเขตภาคกลางฝั่งตะวันตกของประเทศ
              ไทยในปัจจุบัน ก่อนจะแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางสู่ภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมี
              บ้านเมืองโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น ้าส าคัญๆ หลายแห่ง

                       อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าบ้านเมืองตาม
              ภูมิภาคต่างๆ ที่ปรากฏร่องรอยของวัฒนธรรมทวารวดีนี้อยู่ภายใต้ระบบการ
              ปกครองของอาณาจักรหรือรัฐที่มีศูนย์อ านาจเดียว เพราะพบว่าแต่ละ
              ภูมิภาคก็มีความหลากหลายหรือมีเอกลักษณ์เฉพาะทางวัฒนธรรมของ
              ตนเอง ดังนั้นการแพร่หลายของวัฒนธรรมทวารวดีคงเกิดขึ้นจาก

              การเผยแผ่พุทธศาสนา ตลอดจนการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยน
              เป็นส าคัญ





                                          27
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43