Page 37 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 37
ภำชนะที่ใช้ในกิจพิธี เช่น ตะคันหรือถ้วยขนาดเล็กไว้จุดไฟต่าง
ตะเกียง ถ้วยมีพวย (ตะเกียง) คนโท หม้อมีพวย (กุณฑี - kendi) (ภาพที่
17) หม้อพรมน ้า (กุณฑิกะ - kundika) ซึ่งชาวทวารวดีได้รับต้นแบบมาจาก
ภาชนะของอินเดีย ทั้งยังรับเอารูปแบบการตกแต่งพื้นผิวด้วยการกดประทับ
(stamped technique) ลวดลายมงคลภายในกรอบสี่เหลี่ยม เช่น ลายช้าง
สิงห์ หงส์ คนขี่ม้า ลายก้านขด ลายดอกไม้ ซึ่งเป็นเทคนิคแบบอินเดียสมัย
คุปตะ-หลังคุปตะมาประยุกต์ใช้ด้วย และถือเป็นรูปแบบการตกแต่งที่โดดเด่น
65
ที่สุดของภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี หรือจัดเป็นคุณลักษณะพิเศษ
(diagnostic attribute) ที่สามารถใช้ก าหนดอายุสมัยแหล่งโบราณคดีหรือ
ชั้นวัฒนธรรม (cultural layer) ได้เมื่อพบจากการขุดค้น
ภาพที่ 17 ชิ้นส่วนหม้อมีพวย (กุณฑี)
พบจากการขุดค้นที่เมืองนครปฐมโบราณ
นอกจากภาชนะดินเผาแบบพื้นเมืองทวารวดีแล้ว ในการขุดค้น
แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดียังได้พบเศษชิ้นส่วนภาชนะดินเผาหรือ
เครื่องถ้วยที่มาจากต่างถิ่นด้วย ทั้งเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังและ
เครื่องถ้วยจากภูมิภาคตะวันออกกลาง ดังจะได้กล่าวถึงในบทที่ 5
26