Page 372 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 372

2. ใช้ประสบการณ์ของคนอื่นเป็นต้นแบบ แบนดูราให้ความส�าคัญกับ

            แบบอย่าง (modeling) เพราะเขาเชื่อว่า หากใครก็ตามเห็นตัวแบบที่มีความ
            สามารถเหมือนตัวเองแล้วท�าส�าเร็จได้ จะช่วยให้ผู้นั้นรับรู้ถึงความเป็นไปได้ว่า
            ตนเองก็มีโอกาสท�าได้ส�าเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งต้นแบบที่ว่าเป็นได้ทั้งคนใกล้ชิดที่
            พบปะในชีวิตประจ�าวัน และบุคคลสาธารณะที่เห็นผ่านสื่อหรือบุคคลส�าคัญที่เรา
            ชื่นชมความสามารถ
                    3. จูงใจโดยใช้ค�าพูด การใช้ค�าพูดเชิงให้ก�าลังใจ โน้มน้าว และชักจูง ช่วย

            เสริมสร้างความมั่นใจให้รับรู้ความสามารถของตนได้ แต่การใช้ค�าพูดอย่างเดียวโดย
            ขาดประสบการณ์ร่วม จะส่งผลแค่ช่วงแรกเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ จึงจ�าเป็น
            ต้องใช้ค�าพูดจูงใจควบคู่กับการลงมือท�าอย่างจริงจังเพื่อให้ได้สัมผัสกับความส�าเร็จ
            จะท�าให้เกิด self-efficacy ในระยะยาวได้
                    4. พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ความพร้อมทั้งร่างกายที่แข็งแรงและสภาวะ
            อารมณ์ที่มั่นคงท�าให้คนรับรู้ความสามารถของตนได้ดียิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม หาก
            ร่างกายอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ยังไม่พร้อม หรือก�าลังเจ็บป่วย ประกอบกับอารมณ์ด้าน

            ลบอย่างความกลัวหรือความวิตกกังวล จะท�าให้รับรู้ได้ไม่ดี หรือไม่อาจรับรู้ถึงความ
            สามารถของตนได้เลย
                    หลักใหญ่ใจความของ self-efficacy คือการสร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคนมี
            ความสามารถในตัวเอง เมื่อรับรู้ได้และน�าออกมาใช้ในทางที่ถูกที่ควร จะท�าให้ทุก
            คนเก่งในที่ทางของตนเสมอ

                    ดังนั้นการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้
            (learning theory) และทฤษฎีปัญญาสังคม จึงเป็นปัจจัยส�าคัญในการเพิ่ม
            ศักยภาพความสามารถที่ทีมวิจัย ประยุกต์น�ามาใช้ในการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนา
            สุขภาวะเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรม ซึ่งอาศัยปัจจัยทั้งประสบการณ์แทน
            จากการสอนและการดูภาพ, หรือการลงมือปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์ของตนเอง,
            การสนับสนุนส่งเสริมจากสังคมรอบตัว และการสะท้อนกลับทางสรีร เพื่อสร้าง
            ความเชื่อมั่นว่า ตนเองสามารถกระท�าพฤติกรรมสร้างสุขภาวะทั้ง 4 มิติได้ ซึ่งน�าไป

            สู่การแสดงพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน คือ การเลือกบริโภคอาหาร
            สุขภาพ การออกก�าลังกายเพื่อสุขภาพ การจัดการความเครียดเชิงบวก การลด ละ


                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   371
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   367   368   369   370   371   372   373   374   375   376   377