Page 374 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 374

การเลิกสูบบุหรี่ พบว่า วิธีที่ครูชายผู้พยายามเลิกสูบบุหรี่ทั้งหลาย เลือกใช้มากคือ

            1. ไม่ซื้อบุหรี่สูบเด็ดขาด 2. พยายามบังคับตนเองให้เลิกสูบบุหรี่ในภาวะใด ภาวะ
            หนึ่งก่อน 3. นึกถึงโทษภัยของบุหรี่เมื่ออยากสูบ 4. นึกถึงสัจจะที่ได้ให้ไว้กับตนเอง
            หรือ ผู้เกี่ยวข้องเมื่ออยากสูบ และ 5. ใช้สิ่งอื่นทดแทนบุหรี่
                    สาริณี พงษ์เจริญไทย (2534 : 102) ศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อ
            ทัศนคติการสูบบุหรี่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
            ที่มีทัศนคติทางบวก ต่อการสูบบุหรี่ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

            กลุ่มละ 15 คน พบว่า ภายหลังการทดลองและกลุ่มควบคุมมีทัศนคติทางบวกต่อ
            การสูบบุหรี่ลดลงอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และกลุ่มทดลองมีทัศนคติ
            ทางบวกต่อการสูบบุหรี่ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                    อรทัย ลิ้มตระกูล (2534 :ก - ข) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมเกี่ยว
            กับการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่ม
            ตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ�านวน 618 คน พบว่า เกรดเฉลี่ย
            รายรับต่อเดือน การสูบบุหรี่ของคนในครัวเรือน และการสูบบุหรี่ของเพื่อนสนิทมี

            ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ อย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ และผู้สูบบุหรี่
            ในปัจจุบันมีค่านิยมทางบวกเกี่ยวกับการสูบบุหรี่สูงกว่า ผู้ไม่ได้สูบบุหรี่อย่างมี
            นัยส�าคัญทางสถิติ
                    ชวนพิศ บุณรัตเวช (2536 : 83) ได้รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับอายุ
            ของการสูบบุหรี่ว่าผู้ที่ติดบุหรี่มักจะเริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อยู่ในวัยรุ่นอายุระหว่าง

            16 - 18 ปี และมีแนวโน้มว่า เด็กจะเริ่มสูบบุหรี่ในช่วงอายุที่น้อยลงมากขึ้น ส�าหรับ
            สาเหตุของการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่ของเด็ก คือเพื่อนชักชวนและเห็นแบบอย่างของ
            การสูบบุหรี่จากผู้ใหญ่ ทั้งจากผู้ปกครอง ครู อาจารย์ แพทย์ และจากการสรุป
            รายงาน การสัมมนาของนายแพทย์ เวทย์ อารีย์ชน (2526 :11) เกี่ยวกับพฤติกรรม
            การสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่โรงพยาบาลทรวงอก ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม
            2524 ถึงเดือน กันยายน 2526 พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็ง2,660 คนเป็นชาย 2,115 คน
            สูบบุหรี่ 2,025 คน คิดเป็นร้อยละ 95.75 เพศหญิงเป็นโรคมะเร็งปอด 545 คน สูบ

            บุหรี่ 175 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 ในปีเดียวกัน มาลา รักษาพราหมณ์ (2526 : 50)
            ได้ศึกษาถึง ปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยาที่ท�านายความตั้งใจในการสูบบุหรี่ของ


                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   373
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   369   370   371   372   373   374   375   376   377   378   379