Page 375 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 375

นักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษา พบว่าอายุและอัตราการสูบบุหรี่ต่อวันของบิดา

        และพี่ชาย มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการสูบบุหรี่ของนักเรียน
                จิราภรณ์ กลิ่นศรีสุข (2537 : 48) ได้ศึกษาผลของการให้ค�าปรึกษาแบบ
        เผชิญ ความจริงที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน
        บางประกอกวิทยาคม กรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลง
        หลังจากได้รับการให้ค�าปรึกษาแบบเผชิญความจริง นักเรียนมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่
        ลดลงหลังจากได้รับการให้ข้อสนเทศนักเรียนที่ได้รับการให้ค�าปรึกษาแบบเผชิญ

        ความจริงมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลง มากกว่านักเรียนที่ได้รับเพียงการให้ข้อสนเทศ
                สมชัย ชื่นตา (2538 : 68) ศึกษาถึงพฤติกรรมและปัจจัยต่างๆ ที่มีความ
        สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของกลุ่มนักเรียนชายระดับต�่ากว่าอุดมศึกษา ในจังหวัด
        ขอนแก่น พบว่า อายุที่เริ่มสูบบุหรี่ของกลุ่มที่สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่สูบบุหรี่เมื่ออายุ 16 ปี
        รองลงมาประมาณ 17 ปี และ 15 ปี ตามล�าดับ จากการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม
        อายุกับการสูบบุหรี่พบว่าเมื่ออายุมาก ขึ้นจะมีโอกาสสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ
        อายุ 25 - 29 ปี มีโอกาสสูบบุหรี่มากกว่ากลุ่ม อายุ 15 ปี จะมีโอกาสสูบบุหรี่มากกว่า

        กลุ่มต�่ากว่า 15 ปี เป็น 4 เท่า ทางด้านการสูบบุหรี่ ของบุคคลในครอบครัว พบว่า
        นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่สูบบุหรี่มีโอกาสสูบบุหรี่มากเป็น 1 - 5 เท่าของ
        นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่ไม่สูบบุหรี่ส่วนทางด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่
        ค่อนข้างสูงของนักเรียนกลุ่มที่สูบบุหรี่ที่แตกต่างกันค่อนข้างสูงกล่าวคือ กลุ่มที่
        สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ จะมีนิสัยการสูบบุหรี่เป็นประจ�า ส่วนกลุ่มที่เคยสูบบุหรี่ส่วนใหญ่

        จะสูบเป็นบางโอกาส
                ยุวลักษณ์ ขันอาสา (2541 : บทคัดย่อ) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
        พฤติกรรมการสูบ และไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนปลาย และ
        ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในเขตกรุงเทพ ฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงที่ก�าลังศึกษาใน
        ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ จ�านวน 1,630 คน พบว่า
        นักเรียนหญิงกลุ่มตัวอย่างสูบบุหรี่ ร้อยละ 4.90 การวิเคราะห์จ�าแนกประเภทแบบ
        ขั้นตอน พบว่า ปัจจัยที่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มได้อย่างมีนัยส�าคัญ

        ทางสถิติที่ระดับ .001 จ�านวน 7 ปัจจัย ตามล�าดับ ความส�าคัญ ได้แก่ อิทธิพลของ
        กลุ่มเพื่อน ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ความเชื่ออ�านาจภายในตนเองเกี่ยวกับการสูบบุหรี่



       374   พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   370   371   372   373   374   375   376   377   378   379   380