Page 425 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 425
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง
วางแผนให้สอดคล้องกับผลการวิจัยพัฒนาสุขภาวะที่มีผลจากปัจจัยดังนี้
1. ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหรือหน่วยงานที่สนใจควรให้ความส�าคัญ
กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทั่วไป ทัศนคติ (ความชอบเกี่ยวกับอาหารที่ชอบ
และความรู้หรือความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมบริโภคต่อสุขภาพ เนื่องจาก
ผลจากงานวิจัยพบว่าหลังร่วมกิจกรรมปฏิบัติการเด็กและเยาวชน มีการเปลี่ยนแปลง
ทุกหมวดในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05
2. ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหรือหน่วยงานที่สนใจควรให้ความส�าคัญ
กับพฤติกรรมออกก�าลังกายและกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชน หลังจาก
การท�ากิจกรรม พฤติกรรมการออกก�าลังกายของเด็กและเยาวชน มีการเปลี่ยนไป
ในทางที่ดีขึ้น เช่นเด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อการออกก�าลังกายรับรู้และ
ตระหนักถึงประโยชน์ของการออกก�าลังกายมากขึ้น เช่นช่วยลดความเครียดขณะ
ฝึกอบรมในศูนย์ฝึกและอบรม รวมถึงใช้การออกก�าลังกายเป็นกีฬาเชื่อม
ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนส่งผลให้เยาวชนได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งเด็กและ
เยาวชนในส่วนของความถี่ในการออกก�าลังกายต่อครั้ง และความถี่ในการออกก�าลัง
กายต่อสัปดาห์ ที่มีจ�านวนเพิ่มขึ้น
3. ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหรือหน่วยงานที่สนใจควรให้
ความส�าคัญกับความเครียด อารมณ์และการจัดการความเครียด/อารมณ์ ของเด็ก
และเยาวชน เยาวชนมีความตระหนักรู้ทางความเครียด ความทนทานทางด้าน
อารมณ์ ความแข็งแกร่งในชีวิตมากขึ้น โดยหลังจากท�ากิจกรรมพบว่าเด็กและ
เยาวชนรับรู้และเข้าใจในสาเหตุของความเครียด มีความอดทน ต่อสถานการณ์
ที่เข้ามากระตุ้นให้เกิดความเครียดรวมถึงมีวิธีการจัดการความเครียดและดูแล
อารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะทาง
ใจอย่างสม�่าเสมอจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนา
ทักษะในการดูแลสุขภาวะทางใจของตนเองได้เป็นอย่างดีส่งผลให้เด็กและเยาวชน
มีวัคซีนใจในการป้องกันปัญหาที่เข้ามากระทบชีวิตได้มากขึ้น
424 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research