Page 72 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 72

อดิเรกที่ชอบ จากการท�าความดี การรู้จักการปฏิเสธ เมื่อถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ซ�้า

            เป็นต้น และให้เด็กและเยาวชนพัฒนาเป้าหมายในชีวิตที่ตั้งใจจะไปให้ถึง โดยไม่ต้อง
            พึ่งพาบุหรี่ ซึ่งจากการท�ากิจกรรมและการติดตามผลพบว่าเด็กและเยาวชนในศูนย์
            ฝึกสามารถเลิกบุหรี่ได้ในอัตราที่สูง เพราะนอกจากกิจกรรมดังกล่าว ยังมีการเสริม
            หนุนด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ภายในศูนย์ฝึกและอบรม สร้างการมีส่วน
            ร่วมให้เด็กและเยาวชนเฝ้าระวัง และดูแลสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์ฝึกด้วย ซึ่งท�าให้
            เกิดการมีส่วนร่วม เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และร่วมยินดีในความส�าเร็จที่จัดการ

            สิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ตามกิจกรรมปฏิบัติการด้านนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องหา
            แนวทางการพัฒนาให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เนื่องจากในระยะนี้ยังไม่สามารถจัดการสิ่ง
            แวดล้อมที่บ้านของเด็กและเยาวชน หรือที่แหล่งฝึกอาชีพภายนอกศูนย์ฝึกและ
            อบรมได้ ดังนั้นจึงพบว่าเมื่อเด็กและเยาวชนออกไปเยี่ยมบ้าน พบเจอพ่อแม่ญาติพี่
            น้องคนใกล้ตัวสูบบุหรี่ หรือออกไปฝึกอาชีพภายนอกศูนย์ฝึกฯ พบเห็น หรือได้กลิ่น
            ควันบุหรี่ซ�้าอีก เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จึงหวนกลับไปเริ่มต้นสูบบุหรี่ใหม่ และเมื่อ
            กลับเข้ามาภายในศูนย์ฝึกฯ ต้องมาเริ่มต้นเลิกบุหรี่กันใหม่ รอบแล้ว รอบเล่า จึงต้อง

            มีการพัฒนากิจกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ให้ครอบคลุมมากขึ้น มีพลังเสริมภูมิต้านทาน
            การเสพติดนิโคตินในบุหรี่ให้กับเด็กและเยาวชนกันต่อเนื่องต่อไป
                    โปรแกรมการพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของศูนย์ฝึก
            และอบรมเด็กและเยาวชนมีผลท�าให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
            (อ.1 อาหาร) พฤติกรรมออกก�าลังกายและกิจกรรมทางกาย (อ.2 ออกก�าลังกาย)

            ความเครียด/อารมณ์และการจัดการความเครียด/อารมณ์ (อ.3 อารมณ์) พฤติกรรม
            การเลิกบุหรี่และการจัดการสิ่งแวดล้อมบุหรี่ (ส.1 สูบบุหรี่) และสุขภาวะทางกาย
            สุขภาวะทางใจโดยรวม แตกต่างเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ทั้งสนับสนุนกรอบ
            แนวคิดทฤษฎีการรับรู้สมรรถณะแห่งตน (Self-efficacy theory) ของแบดูรา
            (Bandura, 1982; Gándola, 2020) และสอดคล้องกับหลายผลการศึกษาก่อนหน้า
            (ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา วนลดา ทองใบ จีราภรณ์กรรมบุตร,2562; Osteras,
            Sigmundason, & Haga, 2015; Brusseau, Burns, & Hannon, 2018; Burns,

            Brusseau, Fu, Myrer, & Hannon, 2016; Battaglia, 2013; Damodaran, 2015)
            อธิบายได้ว่า กิจกรรมปฏิบัติการ 4 ด้าน ที่พัฒนาโดยศูนย์ฝึกและอบรม สามารถ


                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   71
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77