Page 74 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 74
ทางสรีระของเด็กและเยาวชนศูนย์ฝึกฯ 5 แห่งด้วย (physiological feedback)
เกิดการเปลี่ยนแปลงการตระหนักรู้อาหารสุขภาพเชิงบวก เสริมสร้างสมรรถภาพ
ทางร่างกายที่ดี ปรับเปลี่ยนความเครียด/อารมณ์/การจัดการความเครียดทาง
อารมณ์เชิงบวก และการจัดการสิ่งแวดล้อมเลิกบุหรี่เชิงบวก จึงสรุปได้ว่าการสร้าง
สุขภาวะทางกายและสุขภาวะทางใจ น�าไปสู่การเสริมสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน
ศูนย์ฝึกและอบรมผ่านการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมปฏิบัติการ 4 ด้าน อย่างมีประสิทธิผล
(ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา วนลดา ทองใบ จีราภรณ์กรรมบุตร, 2562; Osteras,
Sigmundason, & Haga, 2015; Brusseau, Burns, & Hannon, 2018; Burns,
Brusseau, Fu, Myrer, & Hannon, 2016; Battaglia, 2013; Damodaran, 2015)
7
ภายใต้ข้อจ�ากัดของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และสอดคล้องกับงานวิจัย
ก่อนหน้าหลายงานวิจัย
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการพัฒนากิจกรรมสร้างสุขภาวะทุกด้านอย่างต่อเนื่องโดยปรับ
ให้สอดคล้องกับบริบทของเด็กและเยาวชนแต่ละกลุ่ม แต่ละช่วงเวลาโดยมี
กระบวนการประเมินก่อนออกแบบกิจกรรม และมีการปรับกิจกรรมได้เป็นระยะ
เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นฐานของเด็กและเยาวชนแต่ละกลุ่ม และประเมินการ
เปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ทุก 2 - 4 เดือน ท�าเป็นวงรอบจน
เป็นงานประจ�า
2. ควรมีการศึกษาวิจัย ติดตามผลระยะยาวนานขึ้น เช่น ทุก 6 เดือน
ถึง 1 ปี ว่าเด็กและเยาวชนมีพัฒนาการสุขภาวะด้านต่างๆ ดีขึ้นมากน้อยเพียงใด
แบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และควรติดตามไปจนถึงระยะที่เด็ก
และเยาวชนพ้นออกไปจากศูนย์ฝึกและอบรมแล้ว และควรหามาตรการให้พ่อแม่
ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะคู่ขนานไปกับการ
พัฒนาเด็กและเยาวชน โดยอาจร่วมมือกับหน่วยงานในกระทรวงพัฒนาสังคม และ
ความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อก�าหนดแนวทาง นโยบายหรือมาตรการการพัฒนา
สุขภาวะเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้อย่างยั่งยืน ให้เติบโตไปเป็นก�าลังส�าคัญในการ
พัฒนาชาติ บ้านเมืองในอนาคตได้
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 73
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research