Page 23 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 23
8) ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าความต้องการของประชากรกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบาง
(เด็ก สตรี สตรีมีครรภ์ กลุ่มที่มีความทุพลภาพด้านร่างกายหรือจิตใจ ผู้สูงอายุ และประชากรกลุ่มอื่นๆ หรือ
ครอบครัวที่ มีความเสี่ยง) ปรากฎอยู่ในแผนสาธารณภัยของชุมชน
9) เข้าใจบทบาทของพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรอื่น ๆ ในทีม
10) มีส่วนร่วมตามนโยบายและกฎหมายในการพัฒนานโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
เตรียมความพร้อม และการรับมือกับสาธารณภัย
11) อธิบายบทบาทของการสาธารณสุขในสถานการณ์สาธารณภัยได้และความเกี่ยวข้อง
กับบทบาทของพยาบาลได้
10.2 สมรรถนะหมวดที่ 2 การเตรียมความพร้อมรับภัย ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ การปฏิบัติตาม
หลักจริยธรรม กฎหมายและความรับผิดชอบ การสื่อสารและการแบ่งปันข้อมูล การให้ความรู้และการเตรียม
ความพร้อม
10.2.1 สมรรถนะที่ 3 การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม กฎหมายและความรับผิดชอบ
1) การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม
- ร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อระบุปัญหาด้านจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้น
- ประยุกต์ใช้กรอบจริยธรรมที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับในระดับชาติเพื่อ
สนับสนุนการตัดสินใจและการล าดับความส าคัญของปัญหา
- ปกป้องสิทธิ คุณค่า ศักดิ์ศรีของบุคคลและชุมชน
- ปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับความเชื่อทางวัฒนธรรม สังคม
และจิตวิญญาณของบุคคลและชุมชน
- รักษาความลับในการสื่อสารและการบันทึกเอกสารต่างๆ
- เข้าใจในความเชื่อส่วนบุคคลและเข้าใจผลกระทบของความเชื่อเหล่านั้นที่มี
ต่อการตอบสนองต่อสาธารณภัย
- อธิบายประเด็นความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและจริยธรรมที่
อาจเกิดขึ้น
2) การปฏิบัติตามหลักกฎหมาย
- ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายประเทศ
และกฎหมายระหว่างประเทศ
- เข้าใจผลกระทบของกฏหมาย ข้อก าหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงกับ
สถานการณ์สาธารณภัยที่มีต่อการปฏิบัติการพยาบาลและผู้รอดชีวิตจากสาธารณภัย
- ตระหนักถึงบทบาททางกฎหมายของการสาธารณสุข เพื่อปกป้องชุมชนใน
สถานการณ์สาธารณภัย
- เข้าใจในนัยของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์สาธารณภัยและฉุกเฉิน เช่น
ความปลอดภัย การรักษาหลักฐานส าคัญ และการรักษาความลับต่างๆ
- อธิบายประเด็นกฎหมาย และข้อก าหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ
เช่น การท างานเป็นอาสาสมัคร บทบาทและความรับผิดชอบของอาสาสมัคร การ
23