Page 18 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 18
เนื้อหาการพยาบาลสาธารณภัยมาบรรจุไว้ในหลักสูตร ต่อมา Prof Aiko Yamamoto แห่งมหาวิทยาลัยเฮียว
โกะและคณะได้พัฒนาหลักสูตรการพยาบาลสาธารณภัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาระดับพื้นฐานขึ้น
การศึกษาการพยาบาลสาธารณภัยในประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาและได้รับความสนใจอย่างดีจนกระทั่งปัจจุบันมี
การจัดการศึกษาถึงระดับปริญญาเอก โดยเฉพาะหลักสูตร Disaster Nursing Global Leader Degree
Program.(Ph.D. Nursing) DNGL. ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ต้องการพัฒนาผู้น าทางการพยาบาลในการตอบสนองต่อ
สาธารณภัยทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ด าเนินการสอนด้วยการร่วมมือของสถาบันการศึกษาพยาบาล
ทั้งของรัฐและเอกชน 5 สถาบัน ได้แก่ University of Kochi, University of Hyogo, Tokyo Medical and
Dental University, Chiba University and The Japanese Red Cross College of Nursing.
ในประเทศไทย สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย (Srisavarindhira Thai Red
Cross Institute of Nursing) ได้จัดการสอนการพยาบาลสาธารณภัยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรการศึกษามาไม่
น้อยกว่า 30 ปี และมีการจัดการสอนเรื่องการพยาบาลสาธารณภัยแทรกอยู่ในวิชาอื่นๆ ตามสถาบันการศึกษา
พยาบาลอีกหลายแห่ง เช่น วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น วิชาการพยาบาลฉุกเฉินและวิกฤต วิชาการพยาบาล
อุบัติเหตุและฉุกเฉิน วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่ภายหลังการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิในทะเลอันดามัน
เมื่อพ.ศ. 2547 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากใน 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ได้ก่อเกิดความสนใจด้าน
การพยาบาลสาธารณภัยเพิ่มมากขึ้น สถาบันการศึกษาพยาบาลต่างๆ ได้พัฒนาการพยาบาล สาธารณ
ภัยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรเพิ่มมากขึ้น และจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Disaster Nursing
Education in Thailand : Current and Future direction ที่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอาจารย์พยาบาล 16 คน
และพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การท างานด้านสาธารณภัยจ านวน 16 คน จากสถาบันการศึกษาและ
สถาบันบริการสุขภาพระดับต่างๆ ทุกสังกัดทั่วประเทศให้ข้อสรุปว่า ควรให้มีการสอนการพยาบาลสาธารณภัย
เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในสถาบันการศึกษาพยาบาลของไทย ส าหรับเนื้อหาของ
วิชาการพยาบาล สาธารณภัยที่สอดคล้องกับสมรรถนะการพยาบาลสาธารณภัยตามข้อเสนอของสภาพยาบาล
ระหว่างประเทศนั้น สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทยได้จัดสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตร
บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555)
8. แนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้ในการพยาบาลสาธารณภัย
การพยาบาลในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยเป็นการปฏิบัติการพยาบาลที่ต้องน าความรู้
ทางการพยาบาลทั่วไปและการพยาบาลฉุกเฉินมาใช้ในการดูแลประชาชน/ผู้ประสบภัยและชุมชนทุกระยะของ
การเกิดสาธารณภัยเพื่อประเมินความเสี่ยง ป้องกัน ลดผลกระทบ เตรียมความพร้อม เผชิญเหตุฉุกเฉิน
บรรเทาทุกข์ รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัย ปัจจุบันมีทฤษฎีและแนวคิด
ทางการพยาบาลที่น ามาประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยหลายแนวคิด แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง
เฉพาะทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล โมเดลการจัดการพยาบาลสาธารณภัยของเจนนิงส์ และแนวคิดการ
พยาบาลสาธารณภัยของสภาพยาบาลระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นทฤษฎีและแนวคิดที่ง่ายต่อความเข้าใจมี
ความสอดคล้องกับวงจรการเกิดสาธารณภัยและการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่เป็นที่ยอมรับกัน
โดยทั่วไป ดังนี้
18