Page 13 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 13

สาธารณภัย ปี 2564



                     จะเห็นได้ว่าการเกิดสาธารณภัยทั้งจากธรรมชาติและจากการกระท าของมนุษย์ได้สร้างความสูญเสีย

               ให้แก่ประเทศไทยเป็นจ านวนไม่น้อย การสูญเสียทรัพยากรจากสาธารณภัยถือได้ว่าเป็นสาเหตุส าคัญของความ
               ล่าช้าหรือเป็นอุปสรรคส าคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  อีกทั้งจากสถิติจะเห็นว่าแนวโน้มของการเกิด
               สาธารณภัยมีเพิ่มขึ้นทั้งขนาดและความรุนแรง ดังนั้นการเตรียมพร้อมในการป้องกันและลดความสูญเสียที่อาจ
               เกิดจากสาธารณภัยจึงถือเป็นความจ าเป็น เพื่อการจัดท าแผนบูรณาการการพัฒนาประเทศ การสร้างความ

               เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาความยากจน ตลอดจนการสร้างความสมดุลของสิ่งแวดล้อม เพื่อให้
               การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาว


               6. ปัญหาและผลกระทบจากสาธารณภัย
                     สาธารณภัยเมื่อเกิดขึ้นย่อมส่งผลให้มีปัญหาและผลกระทบตามมาทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดได้ทั้งกับ
               ผู้ประสบภัยและสภาพเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงการเมืองของประเทศด้วย ซึ่งจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นกับ

               ประเภท ชนิด  ความรุนแรง ระยะเวลาที่เกิดของสาธารณภัย รวมทั้งสภาพความเสียหายต่างๆ ที่เกิดจาก
               สาธารณภัยนั้นๆ ตลอดจนศักยภาพของการจัดการเมื่อเกิดสาธารณภัยด้วย เช่น เมื่อเกิดมหาอุทกภัยในประเทศ
               ไทย ปีพ.ศ.2554 ที่ประชาชนเสียชีวิต 1,026 คน เดือดร้อน 5,247,125 ครัวเรือน จ านวน 16,224,302 คน พื้นที่

               65  จังหวัดประสบภัยเสียหาย  รวมมูลค่าความเสียหาย  1.44  ล้านบาท  (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,
               2558)  จากเหตุการณ์นี้  สามารถพิจารณาถึงผลกระทบต่อผู้ประสบภัยและต่อสภาพเศรษฐกิจ  สังคมและ
               การเมือง ได้ดังนี้
                     6.1  ผลกระทบต่อผู้ประสบภัย

                        6.1.1 ผลกระทบต่อร่างกายและชีวิต พบการบาดเจ็บ ทั้งที่ไม่มีและมีร่องรอยบาดแผล การเจ็บป่วย
               ทั้งเฉียบพลันและโรคเรื้อรังก าเริบ จนถึงเสีชีวิต
                        6.1.2 ผลกระทบต่อจิตใจ พบการตกใจ เสียใจ สูญเสีย เครียด วิตกกังวล ท้อแท้ หมดก าลังใจ ไม่
               สามารถควบคุมสติ จนถึงน าไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตได้

                         6.1.3 การสูญเสียทรัพย์สิน ได้แก่ การสูญเสียที่อยู่อาศัย ที่ดิน เรือกสวนไร่นา ปศุสัตว์ พาหนะ
               โรงงาน สถานประกอบการ ฯลฯ
                     6.2  ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ
                        6.2.1 ผลกระทบทางเศรษฐกิจเมื่อเกิดสาธารณภัยจะท าให้กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ ทั้งการผลิต การ

               ขนส่ง การจ าหน่าย ไม่สามารถด าเนินการได้อย่างปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านรายได้ ทั้งของประชาชน
               เจ้าของกิจการและรัฐ
                        6.2.2 ผลกระทบด้านสังคม เกิดความสับสน เนื่องจาก สาธารณูปโภคต่างๆ เช่น น้ า อาหาร ไฟฟ้า

               การสื่อสาร การขนส่ง การก าจัดของเสียและขยะมูลฝอย ขาดแคลน ขัดข้องหรือถูกตัดขาด ประชาชนเดือดร้อน








                                                                                                       13
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18