Page 10 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 10

4.3.2  การประเมินด้วยรูปแบบของ SMUG hazard priority system ( WHO, 1999)
                               การประเมินรูปแบบนี้ใช้องค์ประกอบในการพิจารณา 4 องค์ประกอบ แต่ละองค์ประกอบ

               ให้ค่าการประเมินเป็นระดับ สูง ปานกลาง และต่ าแล้วจึงสรุปการประเมินโดยพิจารณาจากสาธารณภัยใดมีค่า
               รวมขององค์ประกอบทั้ง 4 ในระดับสูงมากสุด  มีความรุนแรงสูงสุด  ถ้าสูญเสียมากเป็นระดับสูง ดังนี้
                               1) ความร้ายแรง (Seriousness) พิจารณาจากการสูญเสียที่เกิดจากสาธารณภัยหรือ

               ผลกระทบที่เกิดกับประชาชนหรือทรัพย์สินให้คิดเป็นมูลค่าเงินว่ามากหรือน้อย
                               2) ความสามารถในการจัดการ (Manageability) พิจารณาจากความสามารถในการจัดการ
               ลดความเสี่ยงของภัยของชุมชน เมื่อเกิดสาธารณภัยว่าดีหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ถ้าดีเป็นระดับสูง
                               3) ความเร่งด่วน (Urgency) พิจารณาจากความเร่งด่วนในการเกิดเหตุการณ์ว่าเป็น

               เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก าลังจะเกิดในอนาคตอันใกล้ หรือไม่เกิด หากเกิดในระยะเวลาใกล้เป็นระดับสูง
                               4) การขยายของสาธารณภัย (Growth) พิจารณาจากการขยายขึ้นของสาธารณภัยว่า
               รวดเร็ว ช้า หรือไม่มีการขยาย ถ้าขยายเร็วเป็นระดับสูง


               ตารางที่ 3 การประเมินความรุนแรงของสาธารณภัยด้วย SMUG hazard priority system

                                                               องค์ประกอบ
                 สาธารณภัย
                                ความร้ายแรง     ความสามารถในการจัดการ  ความเร่งด่วน    การขยายของสาธารณภัย
                    ภัย ก        สูง/กลาง/ต่ า       สูง/กลาง/ต่ า       สูง/กลาง/ต่ า      สูง/กลาง/ต่ า

                    ภัย ข        สูง/กลาง/ต่ า       สูง/กลาง/ต่ า       สูง/กลาง/ต่ า      สูง/กลาง/ต่ า
                    ภัย ค        สูง/กลาง/ต่ า       สูง/กลาง/ต่ า       สูง/กลาง/ต่ า      สูง/กลาง/ต่ า


                      ที่มา : World Health Organization, 1999

               ตารางที่ 4 ตัวอย่างการประเมินความรุนแรงของสาธารณภัยด้วยรูปแบบ SMUG


                                                                 องค์ประกอบ
                   สาธารณภัย
                                   ความร้ายแรง    ความสามารถในการจัดการ    ความเร่งด่วน   การขยายของสาธารณภัย
                    อุทกภัย            สูง                 สูง                กลาง               กลาง

                     ไฟป่า            กลาง                 สูง                กลาง                ต่ า
                   แผ่นดินไหว         กลาง                 สูง                 ต่ า               ต่ า

                 โรคระบาดสัตว์         สูง                 สูง                 สูง                ต่ า

                      จากตัวอย่าง สาธารณภัยที่มีความรุนแรงมากที่สุด คือ โรคระบาดสัตว์

                         4.3.3  การประเมินด้วยรูปแบบที่ก าหนดเป็นสากล
                             เนื่องจากสาธารณภัยในปัจจุบันเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมหลายประเทศ
               จึงมีการก าหนดขนาดและระดับความรุนแรงของสาธารณภัยเป็นสากลใช้เหมือนกันทุกประเทศ จ าแนกตาม
               ประเภทของสาธารณภัย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป เช่น แผ่นดินไหว ที่ก าหนดขนาดและความรุนแรง

               ไว้ดังนี้ (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2558)



               10
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15