Page 5 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 5

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ให้ความหมายของสาธารณภัยว่า
               เป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาวะปกติ เกิดความทุกข์ยากเกินกว่าความสามารถของชุมชนที่เกิด

               สาธารณภัยจะจัดการได้ (A disaster is an occurrence disrupting the normal conditions of existence
               and causing a level of suffering that exceeds the capacity of adjustment of the affected com-
               munity.) (WHO, 2545)

                         จากความหมายของสาธารณภัยที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าสาธารณภัยมีลักษณะส าคัญที่สรุปได้
               5 ประการ ได้แก่
                           1) เป็นภัยที่เกิดแก่คนจ านวนมากเกิดได้ทั้งจากธรรมชาติและจากการกระท าของมนุษย์
                           2) เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่อย่างกะทันหันหรือค่อยๆ เกิดขึ้น

                           3) เป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของประชาชน
                           4) ก่อให้เกิดความต้องการสิ่งจ าเป็นพื้นฐานอย่างรีบด่วนของผู้ประสบภัย และ
                           5) เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเกินกว่าชุมชนหรือสังคมจะจัดการได้
               ด้วยตนเองต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก

                     1.2 ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดจากธรรมชาติหรือการกระท าของ
               มนุษย์ ที่อาจน ามาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจนท าให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ และ
               สิ่งแวดล้อม
                     1.3 ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหาย ความสูญเสีย รวมถึงอันตรายต่อ

               ปัจจัยที่มีความเปราะบาง/ล่อแหลม
                     1.4 ความเปราะบาง (Vulnerability) หมายถึง ปัจจัยหรือสภาวะใดๆ ที่ท าให้ชุมชนหรือสังคมขาด
               ความสามารถในการป้องกันตนเอง ไม่สามารถรับมือกับสาธารณภัยหรือไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วจาก

               ความเสียหายซึ่งเกิดจากสาธารณภัย ปัจจัยเหล่านี้มีอยู่ในสังคม หรือชุมชนมาก่อนเกิดสาธารณภัย และอาจเป็น
               ปัจจัยที่ท าให้เกิดผลกระทบของภัยมีความรุนแรงมากขึ้น
                     1.5 ความล่อแหลม (Exposure) หมายถึง การที่คน อาคารบ้านเรือน ทรัพย์สิน ระบบต่างๆ หรือ
               องค์ประกอบใดๆ มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และอาจได้รับความเสียหาย
                     1.6 ศักยภาพ (Capacity) หมายถึง ความช านาญหรือทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ในความครอบครองของ

               ประชาชน ชุมชน หรือสังคมหนึ่งๆ ซึ่งมีคุณลักษณะเชิงบวก สามารถพัฒนา เคลื่อนย้ายและเข้าถึงเพื่อน ามาใช้
               เพิ่มขีดความสามารถของสังคมและชุมชนในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ช่วยให้คาดการณ์ภัย
               ที่จะเกิดขึ้นและรับมือกับความเสี่ยงจากสาธารณภัยได้มากขึ้น หรือ หมายถึงความสามารถที่จะกระท าการ

               อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือความสามารถที่อาจพัฒนาต่อไปให้เป็นประโยชน์มากขึ้น


               2. วงจรการเกิดสาธารณภัย
                    สาธารณภัยทุกประเภทมีลักษณะการเกิดที่คล้ายคลึงกัน คือ มีลักษณะการเกิดที่ต่อเนื่องสามารถแบ่ง
               เป็นระยะๆ โดยใช้เวลาเป็นตัวก าหนดระยะต่างๆ ที่เกิดขึ้น การแบ่งระยะต่างๆ ของการเกิดสาธารณภัยที่นิยม

               ใช้โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
                     2.1 ระยะก่อนเกิดสาธารณภัย (Pre-impact phase) หมายถึง ช่วงเวลาที่ยังไม่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น
               นับตั้งแต่ช่วงเวลาปกติที่ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีภัยเกิดขึ้นจนถึงช่วงเวลาที่มีสิ่งบอกเหตุว่าก าลังจะมีภัยเกิด




                                                                                                         5
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10