Page 6 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 6

ขึ้น เป็นช่วงเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยาจะท าหน้าที่
               ประมวล ลักษณะอากาศและพยากรณ์อากาศ  กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ท าหน้าที่จัดหาเครื่องอุปโภค

               และบริโภคที่จ าเป็น สภากาชาดไทยมีหน้าที่จัดเตรียมส ารองโลหิต เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสียหายหรือลด
               ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งประชาชนและรัฐ ระยะนี้อาจสั้นหรือยาวแตกต่างกันขึ้นกับ
               ชนิดของสาธารณภัย

                     2.2 ระยะเกิดสาธารณภัย (Impact  phase)  หมายถึง ช่วงเวลาที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นก่อ ให้เกิดความ
               เสียหายทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน เป็นช่วงเวลาที่ผู้ประสบภัยมักหลีกเลี่ยงได้ยากหรือควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
               หน่วยงานต่างๆ ต้องเริ่มให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ระยะนี้อาจเป็นวินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน หรือปี ก็ได้
               ขึ้นกับชนิดของสาธารณภัยที่เกิด ตัวอย่างที่มีระยะเวลาเกิดสั้นคือการระเบิด ส าหรับอัคคีภัยเป็นภัยที่อาจมี

               ระยะเกิดภัยนานเป็นนาที ชั่วโมง วัน หรือนานเป็นเดือนก็ได้ เช่น ไฟไหม้ป่า และตัวอย่างของสาธารณภัยที่เกิด
               ยาวนานหลายปี ได้แก่ สงครามแบ่งแยกดินแดนอิสราเอลกับปาเลสไตน์
                      2.3 ระยะหลังเกิดสาธารณภัย (Post-impact phase) หมายถึง ช่วงเวลาที่สาธารณภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว
               เป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานต่างๆ ต้องให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการบรรเทาภัยและการฟื้นฟูสภาพในด้านต่างๆ ไม่

               ว่าจะเป็นตัวผู้ประสบภัยเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งด้านจิตใจอาจต้องใช้เวลายาวนานในการฟื้นฟูสภาพ
               รวมไปถึงหากผู้ประสบภัยที่มีภาวะทุพพลภาพนอกจากการดูแลร่างกายและจิตใจแล้วยังต้องดูแลจัดหาอาชีพ
               ใหม่ที่เหมาะสมกับภาวะทุพพลภาพนั้นให้ด้วยอีกทั้งต้องฟื้นฟูบูรณะอาคารบ้านเรือนสาธารณูปโภคต่างๆ ด้วย



               3. ประเภทของสาธารณภัย
                     กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แบ่งประเภทของสาธารณภัยตามแนวคิดแบบ
               คลาสสิค (Classical  concept) และตามแบบแนวคิดใหม่ (Contemporary  concept) ประกอบด้วย
                     3.1  แบบคลาสสิค (Classical  concept) แบ่งเป็น  2  ประเภทตามสาเหตุการเกิด ดังนี้
                         3.1.1 สาธารณภัยธรรมชาติ (Natural disaster) เป็นภัยที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย

               วาตภัย ดินโคลนถล่ม ภัยแล้ง ภัยหนาว แผ่นดินไหว ไฟป่า เป็นต้น
                         3.1.2 สาธารณภัยจากการกระท าของมนุษย์ (Man-made disaster) เป็นภัยที่เกิดจากการกระท า
               ของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย ภัยจากการคมนาคมขนส่ง ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย ภัยจากการท างาน อาคาร
               ถล่ม ภัยจากวินาศกรรมและการก่อการร้าย ภัยจากเชื้อโรคติดต่อ โรคระบาดในสัตว์ ภัยจากแมลงและศัตรูพืช

               ระบาด เป็นต้น
                     3.2  แบบแนวคิดใหม่ (Contemporary  concept) แบ่งเป็น  3  ประเภท ดังนี้
                          3.2.1 สาธารณภัยธรรมชาติ (Natural disaster) เป็นภัยที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย
               วาตภัย ดินโคลนถล่ม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว ไฟป่า คลื่นสึนามิ เป็นต้น

                           3.2.2 สาธารณภัยเทคโนโลยี (Technological disaster) เป็นภัยที่เกิดจากการกระท าของมนุษย์
               เช่น อัคคีภัย ภัยจากการจราจรและคมนาคมขนส่ง ภัยจากการท างาน ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
                           3.2.3 สาธารณภัยซ้ าซ้อน (Complex disaster) เป็นภัยที่เกิดจากการกระท าของมนุษย์โดย

               มุ่งหวังผลทางการเมืองหรือสังคม เช่น การชุมนุมประท้วง การจลาจล การก่อการร้าย การอพยพหนีภัย
               การเมืองข้ามประเทศ เป็นต้น (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2555)




               6
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11