Page 11 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 11

เล็กมาก (Micro)        ความรุนแรง 1.0 – 2.9    เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงอาการ
                                                                  สั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ

                   เล็ก (Minor)           ความรุนแรง 3.0 – 3.9    เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคาร
                                                                  รู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
                   ค่อนข้างเล็ก (Light)   ความรุนแรง 4.0 – 4.9    เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายใน

                                                                  อาคารและนอกอาคาร รู้สึกถึงการสั่นสะเทือน
                                                                  วัตถุที่ห้อยแขวนมีการแกว่งไปมา
                   ปานกลาง (Moderate)  ความรุนแรง 5.0 – 5.9       เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่อง
                                                                  เรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่

                   ค่อนข้างใหญ่ (Strong)  ความรุนแรง 6.0 – 6.9    เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย
                                                                  พังทลาย
                   ใหญ่ (Major)           ความรุนแรง 7.0 ขึ้นไป   เกิดการสั่นไหวอย่างร้ายแรง อาคาร
                                                                  สิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายอย่างมาก

                                                                  แผ่นดินเกิดการแยกตัว วัตถุที่อยู่บนพื้นถูก
                                                                  เหวี่ยงกระเด็น
                        4.3.4 การประเมินด้วยรูปแบบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยใน
               ประเทศไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้จัดระดับความรุนแรงของสาธารณภัย

               เป็น 4 ระดับ ตามตารางที่ 5

               ตารางที่ 5 การประเมินระดับความรุนแรงของสาธารณภัยของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


                  ระดับความรุนแรง                            ลักษณะของเหตุการณ์
                ระดับที่ 1          ท้องถิ่นสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง
                (ขนาดเล็ก)

                ระดับที่ 2          เกินขีดความสามารถของท้องถิ่น ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากท้องถิ่นข้างเคียงและ
                (ขนาดใหญ่)          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด
                ระดับที่ 3          เกินขีดความสามารถของจังหวัด ต้องการการสนับสนุนจากจังหวัดข้างคียงและ

                (ขนาดรุนแรง)        หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                ระดับที่ 4          เหตุการณ์ฉุกเฉินระดับวิกฤต มีผลกระทบเป็นบริเวณกว้างเกินขีดความสามารถ
                (ขนาดร้ายแรง)       ระดับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง ต้องอาศัยการ
                                    บริหารเหตุการณ์ในระดับชาติ

                      ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, 2553


               5. สถานการณ์และแนวโน้มสาธารณภัย
                     สาธารณภัยเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ รวมถึงมีแนวโน้มในการเกิดมากขึ้นและมี
               ความรุนแรงเพิ่มขึ้น ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
               สิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่ค านึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศ เป็นสาเหตุให้เกิด





                                                                                                       11
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16