Page 7 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 7

กิจกรรมรู้จัก Natural Disasters




               4. ความรุนแรงของสาธารณภัย (Intensity of disaster)
                     การระบุความรุนแรงของสาธารณภัยมีการก าหนดไว้หลากหลายขึ้นกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ก าหนด เช่น
               ความสามารถในการจัดการของบุคคล ชุมชน/ท้องถิ่นที่ได้รับภัยและตามจ านวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ  ดังนี้

                     4.1  แบ่งตามความสามารถในการจัดการของบุคคล ชุมชน/ท้องถิ่นที่ได้รับภัย แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
                         4.1.1 ระดับไม่รุนแรง (Level 1) เป็นสาธารณภัยขนาดเล็ก โอกาสที่จะขยายความรุนแรงมีน้อย
               หรือไม่มีเลย สามารถจัดการได้เองโดยบุคคล ชุมชน/ท้องถิ่นนั้นๆ เช่น เหตุการณ์อัคคีภัยในระยะ 5 นาทีแรก

               เป็นต้น
                         4.1.2 ระดับรุนแรง (Level 2) เป็นสาธารณภัยขนาดกลาง มีโอกาสขยายความรุนแรงได้ บุคคล
               ชุมชน/ท้องถิ่นไม่สามารถจัดการได้เอง ต้องการความช่วยเหลือจากชุมชน/ท้องถิ่นอื่นที่อยู่ใกล้เคียงและ
               หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด เช่น เหตุการณ์อัคคีภัยในหนึ่งอาคาร เป็นต้น
                             4.1.3 ระดับรุนแรงมาก (Level 3) เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่ มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวางหรือ

               เป็นสาธารณภัยที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์พิเศษเกินความสามารถของจังหวัดที่เกิดภัยจะจัดการได้
               ต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกในระดับประเทศ เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริคเตอร์
               ที่จังหวัดเชียงรายในปีพ.ศ. 2557 เป็นต้น

                              4.1.4 ระดับรุนแรงอย่างยิ่ง (Level 4) เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบร้ายแรงเป็นระดับ
               กว้าง ต้องการความช่วยเหลือจากทั่วประเทศหรือนานาชาติ เช่น เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ ปีพ.ศ.2547
               เหตุการณ์มหาอุทกภัย ปีพ.ศ. 2554 ของประเทศไทย เป็นต้น
                     4.2  แบ่งตามจ านวนผู้ได้รับบาดเจ็บ

                         Bonet (1990) ได้แบ่งระดับความรุนแรงของสาธารณภัยตามจ านวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไว้ดังนี้
                         4.2.1 รุนแรงน้อย (Minor disaster) มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไม่เกิน 25 คน
                         4.2.2 รุนแรงปานกลาง (Moderate disaster) มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตไม่เกิน 100 คน
                         4.2.3 รุนแรงมาก (Major disaster) มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเกินกว่า 100 คน

                     4.3  การประเมินความรุนแรงของสาธารณภัย
                          การประเมินความรุนแรงของสาธารณภัยจะช่วยให้การด าเนินการช่วยเหลือเป็นไปอย่างเหมาะสม
               และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถประเมินได้จากข้อมูลและการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัย โดย
               ข้อมูลที่น ามาใช้ต้องมีคุณภาพ ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ แหล่งข้อมูลเชื่อถือได้และหากเป็นไปได้ควรมีการ

               ตรวจสอบข้อมูลระหว่างแหล่งต่างๆ ด้วย การประเมินความรุนแรงของสาธารณภัย สามารถประเมินได้หลาย
               รูปแบบที่ส าคัญ ได้แก่
                         4.3.1 การประเมินด้วยรูปแบบของ The Federal Emergency Management Agency : FEMA

               model (WHO, 1999) การประเมินรูปแบบนี้ ใช้องค์ประกอบหลักในการพิจารณา 4 องค์ประกอบ ได้แก่
                               1) ประวัติ/ข้อมูลในอดีต (History) พิจารณาว่าสาธารณภัยนั้นเคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่ ถ้า
               เคย แสดงว่ามีความเป็นอันตราย เป็นสาเหตุให้เกิดสาธารณภัยได้อีก




                                                                                                         7
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12