Page 8 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 8
2) ความเปราะบาง/ระดับการเกิดอันตราย (Vulnerability) พิจารณาจากจ านวนของ
ประชาชนหรือทรัพย์สินที่จะได้รับอันตรายหรือเสียหายจากสาธารณภัย โดยดูได้จาก กลุ่มประชากรที่เป็น
ประชากรกลุ่มเสี่ยง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็ก) ความหนาแน่นของประชากร ทรัพย์สินมีค่า สถานบริการทาง
สุขภาพซึ่งอาจได้รับอันตรายจากภัย
3) ภาวะคุกคาม (Maximum threat) พิจารณาจากภาวะความรุนแรงและผลกระทบที่มาก
ที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้หากเกิดสาธารณภัย ดูจากอันตรายหรือการบาดเจ็บเสียชีวิตของประชาชนและความสูญเสีย
ทรัพย์สิน รวมถึงต้องค านึงถึงผลกระทบต่อเนื่องที่อาจเกิดได้จากสาธารณภัย เช่นการพังของเขื่อนหรือการเกิด
คลื่นสึนามิจากสาธารณภัยแผ่นดินไหว เป็นต้น
4) โอกาสที่จะเกิด/ความน่าจะเป็น (Probability) พิจารณาจากโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์
ในรอบ 1 ปี
การประเมินระดับความรุนแรงรูปแบบนี้ ค านวณโดยน าเหตุการณ์หรือลักษณะของสาธารณภัยที่
เกิดขึ้นมาใช้ก าหนดระดับความรุนแรงของสาธารณภัยในเบื้องต้นว่าแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับใด
โดยการประเมินก าหนดน้ าหนักความส าคัญของแต่ละองค์ประกอบไว้ดังนี้
ประวัติ/ข้อมูลในอดีต ให้น้ าหนัก = 2
ความเปราะบาง/ระดับการเกิดอันตราย ให้น้ าหนัก = 5
ภาวะคุกคาม ให้น้ าหนัก = 10
โอกาสที่จะเกิด/ความน่าจะเป็น ให้น้ าหนัก = 7
ส าหรับค่าคะแนนของแต่ละองค์ประกอบ ก าหนดเป็นระดับต่ า ปานกลาง และสูง โดยมีค่าคะแนนดังนี้
ระดับต่ า ค่าคะแนน = 1 คะแนน
ระดับปานกลาง ค่าคะแนน = 5 คะแนน
ระดับสูง ค่าคะแนน = 10 คะแนน
โดยค่าคะแนนแต่ละระดับของแต่ละองค์ประกอบ ประเมิน ดังนี้
ตารางที่ 1 การประเมินความรุนแรงของสาธารณภัยด้วย FEMA Model
องค์ประกอบ ข้อมูลในการพิจารณาประเมิน ระดับการประเมิน
1. ประวัติ/ข้อมูลในอดีต มีการเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยใน 100 ปี
0 - 1 ครั้ง ต่ า
2 – 3 ครั้ง ปานกลาง
4 ครั้ง หรือมากกว่า สูง
8