Page 4 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 4
มโนทัศน์การพยาบาลสาธารณภัย
ผศ.ดร.ม.ล.สมจินดา ชมพูนุท
วัตถุประสงค์
เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมาย วงจรการเกิด ประเภทและความรุนแรงของสาธารณภัยได้
2. อธิบายปัญหา ผลกระทบและแนวโน้มการเกิดสาธารณภัยได้
3. อธิบายแนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้ในการพยาบาลสาธารณภัยได้
4. อธิบายลักษณะและสมรรถนะการพยาบาลสาธารณภัยได้
สาธารณภัยก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งต่างๆ อย่างรุนแรง จนเกินความสามารถ
ของบุคคล ครอบครัว ชุมชนจะรับสถานการณ์ได้ จ าเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก ดังนั้นความรู้
เกี่ยวกับสาธารณภัยและการจัดการสาธารณภัยจึงเป็นสิ่งจ าเป็น เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วย ความหมายของ
สาธารณภัยและค าที่เกี่ยวข้อง วงจรการเกิดสาธารณภัย ประเภทของสาธารณภัย ความรุนแรงของสาธารณภัย
สถานการณ์และแนวโน้มการเกิดสาธารณภัย ปัญหาและผลกระทบจากสาธารณภัย และการพยาบาลสาธารณภัย
1. ความหมายของสาธารณภัยและค าที่เกี่ยวข้อง
1.1 สาธารณภัย (Disaster) มีผู้ให้ความหมายของสาธารณภัยไว้ต่างๆกันที่ส าคัญคือ
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ให้ความหมายของสาธารณภัย
หมายถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ า การ
ระบาดของศัตรูพืชตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชนไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ท าให้เกิดขึ้น
อุบัติเหตุหรือเหตุอื่นใดซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของ
ประชาชนหรือของรัฐและให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศและการก่อวินาศกรรมด้วย (คณะกรรมการ
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ, 2552)
สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of
Red Cross and Red Crescent Societies : IFRC) ให้ความหมายสาธารณภัยว่า สาธารณภัยเป็นเหตุการณ์
ที่ก่อให้เกิดความหายนะ สูญเสียอย่างกะทันหันต่อการด าเนินชีวิตของบุคคล ชุมชนและสังคม รวมถึงเกิดความ
เสียหายอย่างมากมายต่อทรัพย์สิน สิ่งของของบุคคล เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เกินกว่าที่ชุมชนหรือสังคม
จะสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง เกิดได้ทั้งจากธรรมชาติและการกระท าของมนุษย์ (Disaster is sudden,
calamitous event that seriously disrupts the functioning of a community or society and causes
human, material, and economic or environmental losses that exceed the community’s or
society’s ability to cope using its own resources. Though often caused by nature, disasters can
have human origins.) (IFRC, 2556)
4