Page 12 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 12
สาธารณภัยที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของประชาชนและรัฐมากขึ้นและมีความถี่ในการเกิด
บ่อยขึ้น อีกทั้งเมื่อพิจารณาบริบทของการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันจะพบปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด
สาธารณภัยต่างๆ ได้มากขึ้น ได้แก่
5.1 การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ท าให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่ม
มากขึ้นเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค ก่อให้เกิดความขัดแย้ง การแย่งชิง สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อ
คุณภาพชีวิต
5.2 การใช้ทรัพยากรของโลกโดยไม่ค านึงถึงความยั่งยืนของระบบนิเวศ แม้ว่าจะมีการด าเนินการ
มาตรการต่างๆ รองรับแต่ไม่สามารถด าเนินการส าเร็จได้ ดังจะเห็นได้จากปัญหาการขาดแหล่งน้ าดื่มที่มี
คุณภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ของโลก
5.3 การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภาวะโลกร้อน ปัญหาภาวะโลกร้อนได้รับการยืนยันด้วย
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน อุณหภูมิของผิวโลกที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบให้เกิดสาธารณภัยที่ส าคัญคือ
สาธารณภัยที่เกี่ยวกับน้ า เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัย เป็นต้น นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้แหล่ง
อาหารของมนุษย์ลดลง เนื่องจากการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ มีการเพิ่มการแพร่กระจายของโรคระบาดรวมถึง
การเกิดคลื่นความร้อนท าให้อากาศร้อนจัดก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของประชากร
ศูนย์วิจัยการระบาดวิทยาของสาธารณภัย (Centre for Research on the Epidemiology of
Disasters : CRED, UNISDR) ได้รายงานสถิติจ านวนผู้เสียชีวิตและมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก
สาธารณภัยดังนี้
2021 EMDAT Report
Disasters in 2020
ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตรและอยู่ในเขตแนวมรสุม สาธารณภัย ใน
อดีตที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในทวีปเอเชีย
เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย บังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน พบว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดในประเทศไทยค่อนข้างน้อย
แต่อย่างไรก็ตามในระยะหลังประเทศไทยประสบภัยธรรมชาติร้ายแรงหลายครั้ง เช่น สึนามิ อุทกภัยและ
โคลนถล่ม นอกจากนั้นสาธารณภัยที่เกิดจากการกระท าของมนุษย์ก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง มีความรุนแรงและกระจาย
ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้น เช่น สาธารณภัยจากการคมนาคมขนส่ง สารเคมีและวัตถุอันตราย อัคคีภัย อาคารถล่ม
เป็นต้น
สถานการณ์ภัยพิบัติ
12