Page 16 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 16
ปัญหาและ
ผลกระทบด้าน ระยะเกิดสาธารณภัย ระยะหลังเกิดสาธารณภัย
สาธารณูปโภค สาธารณภัยนั้นๆ มีขนาดและความรุนแรงมาก เครื่องอุปโภคและบริโภคที่จ าเป็นที่อาจ
และการ ขึ้นได้ ขาดแคลนท าให้ราคาสินค้าสูงขึ้น เกิด
คมนาคมขนส่ง ตลาดมืดที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้
(ต่อ) รวมทั้งอาจส่งผลให้เกิดอาชญากรรมใน
รูปแบบต่างๆ ได้
สิ่งแวดล้อม - เมื่อสภาพสิ่งแวดล้อมถูกท าลายหรืออยู่ในสภาพ- เป็นปัญหาที่เกิดต่อเนื่องมาจากระยะ
ที่ขาดสมดุล ย่อมมีผลกระทบต่อการด ารงชีวิต เกิดภัย กล่าวคือ เมื่อระบบนิเวศที่
อย่างปกติสุขของบุคคล รวมทั้งสัตว์ต่างๆที่อาศัย สมดุลถูกท าลายย่อมเกิดปัญหาที่เป็น
อยู่ในบริเวณที่เกิดภัยนั้นๆ และบางครั้ง ลูกโซ่ต่างๆ ตามมา หรือในบางครั้ง
สิ่งแวดล้อมอาจกลายเป็นแหล่งเอื้อ สาธารณภัยนั้นอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้น
ต่อการแพร่ระบาดของโรคได้ เช่น เมื่อมีการ ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ในน้ า
ปนเปื้อนสิ่งสกปรกต่างๆ ทางน้ า เป็นต้น จนกระทั่งคนและสัตว์ไม่สามารถอาศัย
ในแหล่งที่เดิมได้อีกต่อไปจ าเป็นต้อง
อาศัยการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการ
พัฒนาเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่ง
ต้องใช้เวลาค่อน ข้างยาวนาน
ที่มา : วรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว และ สมจินดา ชมพูนุท, 2557
7. ความหมายและวิวัฒนาการของการพยาบาลสาธารณภัย
การพยาบาลสาธารณภัยมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการพยาบาลในหอผู้ป่วย คือ เป็นการให้ บริการ
พยาบาล แก่คนหมู่มากพร้อมๆกัน โดยใช้วิธีการจ าแนกผู้บาดเจ็บการให้การพยาบาลฉุกเฉิน และเป็นการ
ท างานร่วมกันของทีมดูแลช่วยเหลือ ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติการพยาบาลต้องมีความรู้ ความสามารถ ความฉับไว มีความ
ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี สามารถประเมินปัญหาได้และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่าง
ถูกต้องเหมาะสมรวมทั้งมีทักษะในการเป็นผู้ประสานงานที่ดี สามารถปฏิบัติงานได้ดีทั้งในระยะก่อนเกิด ขณะ
เกิด และหลังเกิดสาธารณภัย
7.1 ความหมายของการพยาบาลสาธารณภัย
การพยาบาลสาธารณภัยเป็นการพยาบาลที่ต้องน าความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและ
ด้านการพยาบาลฉุกเฉินมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ สาธารณภัยทั้งในระยะก่อนเกิด ขณะเกิดและหลังเกิด
สาธารณภัยเพื่อป้องกันและหรือลดความสูญเสียที่จะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
และจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ มีผู้ให้ความหมายของการพยาบาลสาธารณภัยไว้ เช่น
สมาคมพยาบาลสาธารณภัยของประเทศญี่ปุ่น ให้ความหมายของการพยาบาลสาธารณภัยว่า
การด าเนินกิจกรรมที่มุ่งลดความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ที่เกิดจากสาธารณภัย โดยใช้องค์ความรู้
16