Page 20 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 20
ระยะที่ 2 ระยะเกิดสาธารณภัย พยาบาลมีหลายบทบาท ที่ส าคัญ ได้แก่ บทบาทผู้ดูแล และบทบาท
ผู้จัดการรายกรณี ในบทบาทผู้ดูแล พยาบาลมีความรับผิดชอบในการจ าแนกผู้ประสบภัยและการดูแล
ผู้ประสบภัย ตามความรุนแรงของอาการ/ปัญหาโดยต้องค านึงถึงภาวะสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และ
วัฒนธรรมของผู้ประสบภัย พยาบาลสามารถให้การวินิจฉัยปัญหาและให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ส่วนใน
บทบาทผู้จัดการรายกรณี พยาบาลสามารถเป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้ประสบภัยกับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ
รวมถึงการส่งต่อผู้ประสบภัยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมด้วย ระยะนี้เทียบได้กับการป้องกันโรค ระดับที่ 2
ระยะที่ 3 ระยะหลังเกิดสาธารณภัย พยาบาลมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งการประเมิน การวางแผนและการ
ปฏิบัติการพยาบาล รวมถึงต้องประเมินซ้ าถ้าผู้ประสบภัยได้รับการรักษาพยาบาลเพื่อปรับปรุงการพยาบาล
ระยะนี้เทียบได้กับการป้องกันโรค ระดับที่ 3
ระยะที่ 4 ระยะผลลัพธ์ของผู้ประสบภัยหรือประชาชน การปฏิบัติในระยะที่ 1 ถึง 3 จะมีผลต่อ
ผู้ประสบภัยหรือประชาชนซึ่งคาดว่าจะเป็นผลทางบวก เช่น ลดอัตราการตาย ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เพิ่ม
ภาวะสุขภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ประสบภัย เพิ่มความรู้ด้านสาธารณภัยและการพยาบาล เพิ่มประสิทธิผล
ของการวางแผนการพยาบาลด้านสาธารณภัย รวมถึงเพิ่มความร่วมมือระหว่างพยาบาลและองค์กรด้วย
8.3 แนวคิดการพยาบาลสาธารณภัยของสภาพยาบาลระหว่างประเทศ
สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses : ICN) โดยการสนับสนุนจาก
องค์การอนามัยโลกเขตแปซิฟิกตะวันตก ได้พัฒนาแนวคิดการจัดการสาธารณภัยอย่างต่อเนื่องมาจากโมเดล
การจัดการสาธารณภัยของเจนนิงส์ (เจนนิงส์, 2004) และวงจรเวลาการพยาบาลาธารณภัยของวีนิมา
(Veenema, 2007) โดยแบ่งระยะของสาธารณภัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเกิด ขณะเกิดและหลังเกิด
สาธารณภัย และสภาพยาบาลระหว่างประเทศได้ก าหนดการจัดการตามระยะดังกล่าวไว้ 4 เรื่อง ได้แก่
- ระยะก่อนเกิดสาธารณภัย การจัดการประกอบด้วย 2 เรื่องคือการป้องกันและลดผลกระทบ ซึ่ง
เป็นขั้นตอนการป้องกันการเกิดสาธารณภัยและลดผลกระทบของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นของประชาชนและชุมชน
และการเตรียมความพร้อมซึ่งเป็นการวางแผนล่วงหน้า เพื่อเพิ่มระดับความสามารถด้านต่างๆ ในการตอบสนอง
ต่อสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้น
- ระยะเกิดสาธารณภัย การจัดการคือการตอบสนองต่อสาธารณภัยซึ่งเป็นการด าเนินงานตาม
แผนการที่ ก าหนดไว้ทันทีที่เกิดภัย เพื่อบรรเทาความรุนแรงของสาธารณภัย
- ระยะหลังเกิดสาธารณภัย การจัดการเป็นการฟื้นฟูบูรณะ การซ่อมสร้างและการฟื้นฟูสภาพ
ทั้งสาธารณูปโภค สิ่งก่อสร้าง แหล่งอาชีพ ชุมชนและสุขภาพของประชาชนเพื่อให้กลับคืนสู่ภาวะปกติก่อนเกิด
สาธารณภัย
9. ลักษณะการปฏิบัติการพยาบาลและคุณสมบัติของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์
สาธารณภัย
9.1 ลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์สาธารณภัย
9.1.1 เป็นการพยาบาลที่มุ่งลดความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากสาธารณภัย
โดยใช้องค์ความรู้และทักษะทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบ
9.1.2 เป็นการพยาบาลที่ต้องน าความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและด้านการพยาบาล
ฉุกเฉินมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์สาธารณภัยทั้งในระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย
20