Page 21 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 21

9.1.3 เป็นการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ
                               -  ป้องกันและลดความรุนแรง
                               -  มุ่งเน้นด้านการพยาบาลฉุกเฉินแก่ผู้ประสบภัยจ านวนมากในขณะเกิดภัย
                               -  การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ
                     9.2  คุณสมบัติของพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลสาธารณภัย
                         พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณภัยควรมีความรู้และทักษะ ดังนี้

                         9.2.1 มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาลฉุกเฉิน
                 การพยาบาลวิกฤต และด้านการรักษาโรคเบื้องต้น
                         9.2.2 มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพ

                 ที่จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่างๆ รวมทั้งมีความสามารถให้การพยาบาลได้ครอบคลุมทุกระยะของสาธารณภัย
                         9.2.3 มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี มีความเป็นผู้น า และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง
                 เหมาะสม
                         9.2.4 มีทักษะในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลต่างๆได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน

                         9.2.5 มีวุฒิภาวะ มีสติ จิตใจเข้มแข็ง รอบคอบ อดทน และต้องมีสุขภาพกายและจิตที่ดี


               10. กรอบสมรรถนะการพยาบาลสาธารณภัยของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ
                     จากแนวคิดการจัดการสาธารณภัยอย่างต่อเนื่อง สภาพยาบาลระหว่างประเทศได้ใช้เป็นแนวทางในการ
               ก าหนดสมรรถนะการพยาบาลสาธารณภัยส าหรับพยาบาลทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย 4 หมวดหลัก ได้แก่           1

               ) สมรรถนะในการป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบจากสาธารณภัย 2) สมรรถนะในการเตรียมความพร้อมรับ  สา
               ธารณภัย 3) สมรรถนะในการรับมือกับสาธารณภัย และ 4) สมรรถนะในการฟื้นฟูบูรณะ ภายใต้สมรรถนะหลัก
               ทั้ง 4 หมวดนี้ ประกอบด้วย 10 สมรรถนะย่อย ได้แก่ 1) การลดความเสี่ยง การป้องกันโรคและการสร้างเสริม
               สุขภาพ 2) การพัฒนานโยบายและการวางแผน 3) การปฏิบัติตามหลักจริยธรรม กฎหมาย และความ

               รับผิดชอบ 4) การสื่อสารและการแบ่งปันข้อมูล 5) การให้การศึกษาและการเตรียมความพร้อม 6) การดูแล
               ชุมชน 7) การดูแลบุคคลและ ครอบครัว 8) การดูแลด้านจิตใจ 9) การดูแลประชากรกลุ่มเปราะบาง และ
               10) การดูแลในระยะยาวเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของบุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
               (สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย, 2557)

                     10.1 หมวดที่ 1 การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากสาธารณภัย ประกอบด้วย 2 สมรรถนะ ได้แก่
               การลดความเสี่ยง การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ และการพัฒนานโยบายและวางแผน
                         10.1.1 สมรรถนะที่ 1 การลดความเสี่ยง การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ

                                      1)  การลดความเสี่ยง และการป้องกันโรค
                                      - การใช้ข้อมูลด้านระบาดวิทยาในการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจาก
                                      สาธารณภัยที่มีต่อชุมชนและประชาชน และก าหนดวิธีการให้การพยาบาล
                                     - ท างานร่วมกับบุคลากรทีมสุขภาพสาขาอื่นๆ องค์กรในชุมชน ภาครัฐและผู้น า
                                       ชุมชนในการพัฒนามาตรการลดความเสี่ยง เพื่อลดความเปราะบางของประชาชน

                                       ต่อการได้รับบาดเจ็บหรือผลกระทบอื่นๆ







                                                                                                       21
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26