Page 22 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 22

- มีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อตอบสนองความต้องการการดูแลด้านสุขภาพใน
                                       สถานการณ์สาธารณภัย

                                     - ประเมินประเด็นความเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจขึ้นในระบบสุขภาพระหว่างการเกิด
                                       สาธารณภัยและท างานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อบรรเทาความเสี่ยงนั้น ๆ
                                     - ระบุประชากรกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบาง และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                                       เพื่อหาวิธีการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มนั้น
                                      - ท าความเข้าใจหลักการและขั้นตอนการแยกตัวผู้ป่วย การกักผู้สัมผัสสารปนเปื้อน
                                       การยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อหรือสารปนเปื้อน การชะล้างหรือขจัดสารปนเปื้อน
                                       และช่วยเหลือในการพัฒนาแผนเพื่อน าวิธีการดังกล่าวไปใช้ในชุมชน

                                     - ท างานร่วมกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเพิ่มขีด
                                     ความสามารถของชุมชนในการเตรียมความพร้อมและรับมือกับสาธารณภัย
                                  2)  การส่งเสริมสุขภาพ
                                     - มีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้ความรู้แก่ชุมชนในการเตรียมความพร้อมรับสาธารณภัย

                                     - ประเมินชุมชนเพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพ ความชุกของโรค การเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือ
                                       ความพิการ และทรัพยากรส าหรับการดูแลสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชน
                                     - เป็นหุ้นส่วนกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้มาตรการเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
                                        กับการแพร่กระจายโรคติดต่อ จากคนสู่คน การสุขาภิบาลและโรคติดต่อจากอาหาร

                                     - มีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อตอบสนองกับความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน
                                      เช่น การให้วัคซีนป้องกันโรคและการให้ยากับประชาชนในชุมชน
                                     - ท างานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพในชุมชนให้สามารถ

                                       รับมือเมื่อเกิดสาธารณภัย และฟื้นฟูบูรณะความเสียหายที่เกิดจากสาธารณภัย
                         10.1.2 สมรรถนะที่ 2 การพัฒนานโยบายและการวางแผน
                                  1) สามารถแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในนิยามต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัย
                                  2) อธิบายระยะต่างๆ ของการจัดการสาธารณภัยอย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งประกอบด้วย
               ระยะการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ระยะการเตรียมความพร้อม ระยะการรับมือกับสาธารณภัย และระยะ

               การฟื้นฟูบูรณะ
                                  3) อธิบายบทบาทของภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ในการวางแผนและการรับมือกับ
               สาธารณภัยได้

                                  4) เข้าใจแผนสาธารณภัยของชุมชน และความเชื่อมโยงกับแผนรับมือสาธารณภัย
               ระดับชาติและ ระดับนานาชาติ
                                  5) ตระหนักถึงความส าคัญของแผนรับมือกับสาธารณภัยในสถานที่ท างาน และบทบาท
               ของบุคลากรในหน่วยงานเมื่อเกิดสาธารณภัย
                                  6) มีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสาธารณภัย

                                  7) มีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนา ประเมินผล และปรับปรุงแผนจัดการสาธารณภัย
               ของชุมชน






               22
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27