Page 17 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 17

และทักษะทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบ ยืดหยุ่น โดยร่วมมือกับวิชาชีพอื่น (สมาคมพยาบาลสาธารณภัย
               ของประเทศญี่ปุ่น, 2556)

                     7.2  วิวัฒนาการการพยาบาลสาธารณภัย (Historical of disaster nursing)
                          การช่วยเหลือผู้มีความทุกข์ยากเพื่อบรรเทาทุกข์นั้นมีมาแต่อดีตมากกว่า 1,500 ปี ในระยะแรกเป็น
               การกระท าแบบดั้งเดิม เพื่อมนุษยธรรม เป็นการร่วมมือช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและทุกข์ทรมานด้วยส านึกของการ

               ปกป้อง ช่วยเหลือกลุ่มที่ริเริ่มการช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยในยุคแรกๆ ได้แก่ คณะนักรบครูเซเดอร์
               คณะนักรบของเซนต์จอน คณะแซมาริแตน และคณะพยาบาลของสภากาชาด
                        กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในอดีตนั้นเกิดขึ้นตามช่วงเวลา เช่น เวลาเกิดโรคระบาด  หรือ
               เกิดสงคราม เป็นต้น การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เริ่มเมื่อมีการก่อตั้งสภากาชาดใน

               ประเทศต่างๆ ขึ้นโดยเฉพาะในทวีปยุโรป ในส่วนของการพยาบาลนั้น Miss Florence Nightingale เป็นผู้ริเริ่ม
               พัฒนาองค์ความรู้จากประสบการณ์ในการดูแลทหารในช่วงสงครามไครเมีย ที่พบว่าทหารล้มตายเป็นจ านวน
               มากจากสุขอนามัยที่ไม่ดีและจากโรคที่สามารถป้องกันได้  ดังนั้นจึงได้ก าหนดมาตรฐานการดูแลทหารที่
               บาดเจ็บและปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลที่ให้การดูแลทหารที่เจ็บป่วยและบาดเจ็บ ซึ่งเป็นผลให้

               จ านวนทหารเสียชีวิตลดลง
                        ส าหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศไทยนั้นมีมาแต่โบราณ แต่จัดท าเฉพาะเวลามี
               โรคระบาดเกิดขึ้น เมื่อการระบาดสงบลงก็เลิกไป โดยมีเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าช่วยเหลือ
               เช่น ในสมัยรัตนโกสินทร์  ในพ.ศ. 2363  เกิดอหิวาตกโรค มีคนตายเป็นจ านวนมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธ

               เลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นผู้น าในการช่วยเหลือโดยมีการจ่ายยา น้ า อาหารแก่ประชาชนรวมถึงการเก็บศพเผา
               ด้วย ต่อมาในปีพ.ศ. 2392 และพ.ศ. 2424 ก็เกิดอหิวาตกโรคระบาดอีก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
               และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นผู้น าในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีกเช่นกัน โดยเฉพาะ

               ในพ.ศ. 2424  นั้น ได้มีการจัดตั้งสถานที่ส าหรับบรรเทาทุกข์ชั่วคราวถึง 48 แห่ง แต่เมื่อโรคสงบก็เลิกสถานที่
               เหล่านั้นทั้งหมด
                          จนกระทั่งปี พ.ศ.2436 มีการตั้งสภาอุณาโลมแดงขึ้น เพื่อช่วยเหลือทหารที่เจ็บป่วยจากการรบที่
               เขตลุ่มแม่น้ าโขง งานช่วยเหลือดังกล่าวยังคงด าเนินการต่อเนื่องถึงปัจจุบันโดยงานส่วนใหญ่สังกัดอยู่ใน
               ส านักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย

                          ส าหรับการศึกษาการพยาบาลสาธารณภัยนั้น ในปี พ.ศ.2506 The National League of nursing
               ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส ารวจการศึกษาพยาบาลสาธารณภัย พบว่ามีการสอนน้อยเป็นเพียงวิชาหนึ่งและ
               มีครูจ านวนน้อยที่สอนวิชานี้ แต่ภายหลังการก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่ตึก World Trade

               การพยาบาลสาธารณภัยได้รับการพัฒนามากขึ้น มีการก่อตั้ง The International Nursing Coalition for
               mass Casualty Education ขึ้น และต่อมาในปีพ.ศ. 2546 ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ต าราการพยาบาลสาธารณ
               ภัยที่ส าคัญเล่มหนึ่ง คือ Disaster Nursing and Emergency Preparedness for Chemical, Biological
               and Radiological Terrorism and other hazards โดยมี Tener Goodwin Veenema เป็นบรรณาธิการ
                          ในหลายประเทศสภากาชาดและกองทัพ เป็นหน่วยงานหลักที่ส าคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

               จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับการพยาบาลสาธารณภัย ส าหรับการศึกษาระดับพื้นฐานและการศึกษา
               ต่อเนื่องระยะสั้น ต่อมาได้มีความพยายามที่จะพัฒนาการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นพยาบาลด้านสา
               ธารณภัย  โดยปีพ.ศ. 2538 คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาลัยพยาบาลหลายแห่งของประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มน า





                                                                                                       17
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22