Page 19 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 19
8.1 ทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล
เป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎีแรกทางการพยาบาล ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ซึ่งเป็นผู้ให้
ก าเนิดวิชาชีพพยาบาล โดยเริ่มชีวิตการเป็นพยาบาลที่ไคซเวิร์ธประเทศ เยอรมัน ในปีพ.ศ.2394
มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยและทหารบาดเจ็บในสงครามไครเมีย ให้การดูแลผู้ป่วยและทหารที่บาดเจ็บเน้นใน
เรื่องความสะอาดของอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ ตลอดจนอาหารที่สดท าให้สุขภาพผู้ป่วยและทหารดีขึ้น ทฤษฎี
การพยาบาลของไนติงเกลมีจุดเน้นหลักเกี่ยวกับความปลอดภัยและการป้องกันสิ่งแวดล้อม
หลักการปฎิบัติการพยาบาลของไนติงเกล คือ การสังเกตอย่างถี่ถ้วน มีเหตุมีผล และการใช้สามัญ
ส านึก ข้อมูลที่รวบรวมได้มาจากการสังเกตอาการของผู้ป่วยและความเป็นไปของสิ่งแวดล้อมผู้ป่วย
การปฏิบัติการพยาบาลจะเกี่ยวข้องกับการจัดปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น และการคงไว้ซึ่งพลังชีวิต
ของผู้ป่วย เพื่อให้กระบวนการหายจากโรคหรือกลับฟื้นคืนสภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย สิ่งแวดล้อมต่างๆ ย่อมเปลี่ยนแปลง โดยสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ปัจจัย
ภายนอกทั้งหมดที่มีอิทธิพลต่อชีวิตและพัฒนาการ ได้แก่ การระบายอากาศ แสงสว่างที่เพียงพอ ความสะอาด
ความอบอุ่น เสียง การก าจัดขยะมูลฝอยและกลิ่นต่างๆ อาหารและน้ าที่สะอาด รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
พยาบาลกับผู้ป่วยทั้งด้วยค าพูดและการกระท า ดังนั้นทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกลจึงสามารถน ามา
ประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ประสบภัยซึ่งต้องค านึงถึงสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบถึงภาวะสุขภาพด้วยเช่นกันการ
พยาบาลเป็นการจัดสิ่งเอื้ออ านวยให้เกิดกระบวนการหายด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด ด้วยความเชื่อที่ว่า
สิ่งแวดล้อมย่อมมีอิทธิพลต่อสุขภาพ และการพยาบาลมุ่งเน้นที่บุคคลต้องการมีกระบวนการซ่อมแซมของ
ร่างกาย การปฏิบัติต่อผู้ป่วยจะเริ่มด้วยการสังเกตบุคคลและสิ่งแวดล้อมเพื่อการประเมิน และการจัดกิจกรรม
การพยาบาล
ด้วยทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล เน้นสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยเป็นส าคัญ การพยาบาลจะเป็นการ
จัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ธรรมชาติได้มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ดังนั้นในการดูแล
ผู้ประสบภัยจึงน าองค์ประกอบเรื่องสิ่งแวดล้อมมาใช้ โดยเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจและ
สิ่งแวดล้อมด้านสังคมล้วนมีผลต่อสุขภาพ พยาบาลต้องวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของ
ผู้ประสบภัยโดยใช้กระบวนการพยาบาล ส่วนกิจกรรมการพยาบาลเน้นการปรับสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อ
สุขภาพของผู้ประสบภัย
8.2 โมเดลการจัดการการพยาบาลสาธารณภัยของเจนนิ่งส์
โมเดลนี้พัฒนาขึ้นโดย เจนนิ่งส์ (Jennings-Sanders, 2004) เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน
การพยาบาลสาธารณภัยส าหรับนักศึกษาพยาบาลในวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อช่วยให้เข้าใจบทบาท
ของพยาบาลชุมชนในการวางแผนและจัดการเมื่อเกิดสาธารณภัย ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะก่อนเกิดสาธารณภัย ประกอบด้วย การประเมินทรัพยากรที่มีอยู่ ความเสี่ยงในพื้นที่
ที่รับผิดชอบและความพร้อมในการรับสาธารณภัย หลังจากประเมินแล้วมีการวางแผนในการจัดสรรทรัพยากร
ก าหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลต่างๆ วางแผนการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและ
ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ การให้ความรู้แก่ชุมชน ระยะนี้เทียบได้กับการป้องกันโรค ระดับที่ 1
19