Page 31 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 31
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
อาจารย์ ดร.บุศรินทร์ หลิมสุนทร
วัตถุประสงค์
เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายสถานการณ์ที่เปลี่ยน แปลงของประเทศและสังคมโลกซึ่งก่อให้เกิดสาธารณภัย
2. อธิบายอธิบายหลักการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัยได้
3. อธิบายอธิบายการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยในทุกระยะของการเกิดสาธารณภัย
4. วางแผนจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยในทุกระยะของการเกิดสาธารณภัยได้
ประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาต้องเผชิญทั้งภัยธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งภัยอันเกิดจาก
มนุษย์ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบต่อการด ารงชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ความสูญเสียอันมากมายมหาศาลที่ผ่านมาท าให้
ประเทศไทยตระหนักถึงความส าคัญที่จะไม่รอรับสาธารณภัยอย่างเดียว หากแต่ต้องมีมาตรการป้องกัน หรือลด
ความรุนแรงของสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้นให้ได้ ประเทศไทยได้เริ่มการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบ
เชิงรุกดังที่ปรากฏในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ซึ่งกลยุทธ์ส าคัญคือการ
มุ่งเน้นให้มีการประเมินความเสี่ยง และมีกระบวนการจัดการความเสี่ยง โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายภาค
ส่วนทั้งรัฐ และประชาชนเนื่องจากเป็นกระบวนการที่อาศัยข้อมูลจ านวนมาก อย่างไรก็ดี เอกสารประกอบการ
สอนฉบับนี้เป็นเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
1.1 ความหมายการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยเป็นการด าเนินงานอย่างเป็นระบบของการใช้ค าสั่งทางการ
บริหารองค์กรและทักษะความสามารถเชิงปฏิบัติการเพื่อด าเนินยุทธศาตร์ นโยบาย มาตรการ หรือกิจกรรม
ต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยง ลด หรือถ่ายโอนความเป็นไปได้ในการเกิดสาธารณภัย รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพในการ
จัดการปัญหาเพื่อเตรียมพร้อมรับผลกระทบทางลบของภัย
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย หมายถึง กระบวนการที่มีความต่อเนื่อง
แต่เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ครอบคลุมการด าเนินงานทุกขั้นตอนตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติการ การ
ประสานความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการด าเนินงานที่ดีในทุกระยะ
ของการเกิดภัย
1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
1.2.1 หลีกเลี่ยงการสูญเสียชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่อยู่ในความเสี่ยงต่าง ๆ
1.2.2 ปกป้องทรัพย์สินให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด รวมทั้งลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจด้วย
1.2.3 รักษาสภาวะแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีผลโดยตรงต่อความผาสุกของสังคม
31