Page 33 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 33

ภาพที่ 1 วงจรการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
                                          ที่มา : ดัดแปลงจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2558


                      2.1  ระยะก่อนเกิดสาธารณภัย (Pre-impact  phase)
                           กิจกรรมการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยในระยะก่อนเกิดสาธารณภัยที่ส าคัญ มีดังนี้
                           2.1.1 การประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย สาธารณภัยที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานที่ แต่ละ

               ช่วงเวลา อาจส่งผลกระทบที่แตกต่างกัน ภัยที่มีขนาดใหญ่และมีความรุนแรงย่อมมีโอกาสสร้างผลกระทบได้
               มากกว่าภัยที่มีขนาดเล็กกว่า แต่สาธารณภัยขนาดเดียวกัน หากเกิดในพื้นที่ที่แตกต่างกันก็มีผลกระทบที่
               แตกต่างกันได้ ด้วยเหตุนี้ปัจจัยที่ท าให้เกิดความเสี่ยงจึงไม่เพียงแค่มีภัยใดๆ เกิดขึ้น หากยังมีองค์ประกอบที่มี
               ความสัมพันธ์กับสภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นตัวแปรส าคัญในการคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
               จากภัยนั้นๆ ได้ ปัจจัยเหล่านี้สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดความเสี่ยงจากสาธารณภัยของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง

               ต่อภัยใดภัยหนึ่งจึงแตกต่างกัน การประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยท าได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่จะ
               ก่อให้เกิดอันตรายกับชีวิต ทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ในระดับบุคคล ชุมชน สังคมหรือ
               ประเทศ โดยประเมินจากปัจจัย 4 ประการ ดังนี้




                               คลิปประเมินความเสี่ยงสาธารณภัย



                                2.1.1.1 ภัย คือ เหตุการณ์หรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือจากการกระท าของ
               มนุษย์ ที่อาจน ามาซึ่งความสูญเสียต่อทรัพย์สิน ตลอดจนท าให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และ
               สิ่งแวดล้อม





                                                                                                       33
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38