Page 37 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 37

จากบ้านก็สามารถอยู่บ้านได้อย่างปลอดภัย เหมาะสม และเพียงพอ กับจ านวน และช่วงวัยของสมาชิกใน
               ครอบครัว และต้องหมั่นตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ในกระเป๋า วันหมดอายุของสิ่งของทีเตรียมไว้

                              ลักษณะกระเป๋าฉุกเฉิน ควรเป็นกระเป๋าเป้ มีน้ าหนักเบา ท าด้วยวัสดุกันน้ า เพื่อให้สะดวกแก่
               การหยิบใช้ และน าอพยพเมื่อเกิดภัย
                              เครื่องอุปโภคบริโภค ที่ควรต้องเตรียม มีดังนี้

                      1. น้ าดื่มควรเตรียมให้เพียงพอวันละ 2 ลิตรต่อคน อย่างน้อย 3 วัน (กรณีอพยพ) และเตรียม 14 วัน
               (กรณีอยู่ในบ้านเรือน) เด็ก, แม่ที่ให้นมบุตร, และผู้ป่วยอาจต้องการมากกว่านั้น
                        การเตรียมน้ าในกรณีส าหรับดื่มและใช้ ควรเตรียมวันละ 1 แกลลอนต่อคน (ประมาณ 4 ลิตรต่อคน)
                      2. อาหารให้เพียงพอ อย่างน้อย 3 วัน (กรณีอพยพ) และเตรียม 14 วัน (กรณีอยู่ในบ้านเรือน) เป็น

               อาหารที่ไม่เสียง่ายและสะดวกต่อการรับประทาน แนะน าเลือกขนมปังกรอบหรือธัญพืชที่ปราศจากเกลือเพื่อ
               ลดการกระหายน้ าหลังรับประทาน และส ารองอาหารกระป๋อง อาหารแห้งและอื่นๆที่ไม่จ าเป็นต้องแช่เย็นหรือ
               ต้องน าไปปรุงอีก ควรเป็นอาหารที่พร้อมรับประทานทันที ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเปิด
                          ตัวอย่างอาหารในกระเป๋าฉุกเฉิน ได้แก่ เนื้อสัตว์ปรุงส าเร็จพร้อมรับประทาน ขนมปังกรอบที่มี

               เกลือโซเดียมต่ า ธัญพืชต่างๆ อาหารหรือขนมที่ท าจากธัญพืช น้ าผลไม้กล่อง ผักผลไม้กระป๋อง เนยถั่ว เยลลี่
               คุกกี้ ลูกอม กาแฟส าเร็จรูป นมผง
                      3. ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยควรจัดอาหาร ยาและอุปกรณ์การแพทย์ให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
                              ยารักษาโรค และเวชภัณฑ์ที่จ าเป็น ที่ควรต้องเตรียม มีดังนี้

                      1. บุคคลที่เจ็บป่วยควรจัดเตรียมยาประจ าตัว โดยควรมีให้เพียงพอส าหรับอย่างน้อย 7 วัน อาจติดต่อ
               กับโรงพยาบาลที่รักษาเรื่องการส ารองยาไว้ เช่น ช่วงฤดูน้ าหลากเสี่ยงเกิดน้ าท่วมท าให้ออกมารับยาไม่สะดวก
               อาจขอส ารองยาไว้ที่บ้าน โดยมีอสม.ช่วยมาติดตามอาการที่บ้าน หรือกรณีโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่

               ระบาดอาจขอส ารองยาไว้ที่บ้านได้
                      2. เตรียมอุปกรณ์การแพทย์และเวชภัณฑ์ที่จ าเป็น ครอบครัวควรส ารองไว้ให้เพียงพออย่างน้อย 3 วัน
               เช่น เครื่องช่วยฟังพร้อมถ่านส ารอง การเตรียมออกซิเจนนั้น ถังออกซิเจนต้องผูกยึดให้แน่นไม่ให้ล้มได้ง่าย
               เครื่องดูดเสมหะต้องส ารองสายยางดูดเสมหะ ถุงมือ น้ าเกลือ น้ าสะอาดปราศจากเชื้อ และอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า
               เช่น เตียงไฟฟ้า เครื่องปั๊มยาฉีดเข้าเส้นเลือด ต้องตรวจสอบแบตเตอรี่ให้ใช้ได้ดีพร้อมส ารองแบตเตอรี่ไว้ด้วย

                      กรณีผู้สูงอายุ มักมีความจ าเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษช่วยในการด ารงชีวิต ซึ่งการจัดเตรียมของใช้
               ส าหรับผู้สูงอายุจ าเป็นต้องค านึงถึงความจ าเป็นของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ต้องค านึงถึงความสะดวกและคล่องตัว
               ควรจัดให้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหวอยู่ใกล้ตัวผู้สูงอายุเพื่อสะดวกแก่การอพยพ

                      3. ยาและอุปกรณ์บรรเทาอาการเบื้องต้นและการปฐมพยาบาล
                      เมื่อเกิดภัยแล้วอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น เกิดแผล มีไข้ ท้องเสีย ผื่นคัน เป็นต้น ซึ่งผลกระทบ
               เหล่านี้อาจแตกต่างกันขึ้นกับภัยที่เกิดขึ้น ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวจึงควรจัดยาสามัญประจ าบ้านต่างๆ ไว้
               เพื่อใช้บรรเทาอาการที่เกิดขึ้นเบื้องต้น  ได้แก่ ยาแก้ปวดลดไข้ ผงน้ าตาลเกลือแร่ ยาลดกรด ยาแก้แพ้ ยาทาแก้
               ผื่นคัน ยาทาฆ่าเชื้อราและยาป้องกันน้ ากัดเท้า เป็นต้น

                      ส าหรับชุดปฐมพยาบาล ควรประกอบด้วย
                      - ชุดส าหรับท าแผล
                      - ผ้าก๊อซแผ่นปราศจากเชื้อ ขนาด 2 นิ้ว และ 4 นิ้ว





                                                                                                       37
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42