Page 42 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 1 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 42
การประชาสัมพันธ์ในภาวะฉุกเฉินก็เป็นสิ่งส าคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากสาธารณภัยย่อม
ก่อให้เกิดความสูญเสียต่างๆ ก่อให้เกิดความสับสนในสังคม ดังนั้นการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับรู้และ
เข้าใจสถานการณ์ที่ชัดเจน สั้นกะทัดรัด โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจะช่วยให้ความสับสนต่างๆ ลดลงได้
2.2.6 การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย สาธารณภัยท าให้สุขภาพจิตของคน
เปลี่ยนแปลงและบางครั้งอาจมีการบ่อนท าลายหรือก่อความไม่สงบขึ้นอันเป็นการซ้ าเติมภัยที่ก าลังเกิดขึ้น
การรักษาความสงบ ความปลอดภัย การป้องกันการโจรกรรม ป้องกันการก่อวินาศกรรม จึงเป็นสิ่งจ าเป็น
ในขณะเกิดภัย
2.2.7 การบรรเทาทุกข์ประสบภัย ต้องท าอย่างรีบด่วน เพื่อประโยชน์ในการดูแลผู้ประสบภัย ซึ่ง
อยู่ในสภาวะจิตใจที่ระส่ าระสายและป้องกันภาวะความผิดปกติทางจิตใจและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกด้วย การ
บรรเทาทุกข์โดยทั่วไปเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรจากสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความ
เดือดร้อนเฉพาะหน้าของผู้ประสบภัย ไม่ได้มุ่งหมายที่จะชดใช้ความเสีหายที่เกิดขึ้น วิธีการหรือแนวทางในการ
บรรเทาทุกข์สามารถกระท าได้โดยการดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งด้านการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่องจากการ
รักษาพยาบาลฉุกเฉินจนถึงการดูแลในระยะยาว การดูแลเรื่องอาหาร น้ าดื่ม ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม รวมถึง
การจัดการกับผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตและผู้ที่สูญหายด้วย
2.3 ระยะหลังเกิดสาธารณภัย (Post-impact phase)
เป็นการจัดการเพื่อการฟื้นฟูสภาพและการซ่อมสร้าง โดยจะด าเนินการภายหลังจากภาวะฉุกเฉิน
ของสาธารณภัยบรรเทาลงหรือผ่านพ้นไปแล้ว เพื่อปรับสภาพการด ารงชีวิต ระบบสาธารณูปโภคและวิถีความ
เป็นอยู่ของพื้นที่ที่ประสบภัยให้กลับคืนสู่ภาวะปกติหรือพัฒนาให้ดีกว่าเดิม แผนการฟื้นฟูสามารถท าได้ทั้งใน
ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้
- ระยะสั้น เป็นการด าเนินการต่อเนื่องจากการค้นหา การบรรเทาทุกข์และการช่วยเหลือในภาวะ
ฉุกเฉินสิ้นสุดลง เพื่อตอบสนองความต้องการที่จ าเป็นของผู้ประสบภัย ธุรกิจ และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก
สาธารณภัยในระยะเร่งด่วนหรือระยะสั้น รวมถึงการจัดการด้านความปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายหรือ
สาธารณภัยซ้ าอีก
- ระยะกลาง เป็นการด าเนินงานต่อเนื่องในการประสานและสนับสนุนให้มีการสร้างสิ่งอ านวย
ความสะดวกในการด ารงชีวิตขึ้นใหม่ ฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งฟื้นฟูภาวะสุขภาพของ
ผู้ประสบภัยทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสังคมของผู้ประสบภัยด้วย
- ระยะยาว เป็นการด าเนินการต่อจากระยะกลาง ใช้เวลายาวนานนับจากเกิดสาธารณภัย อาจเป็น
เดือน ปี หรือหลายปี โดยมุ่งให้ผู้ประสบภัยและพื้นที่ที่ประสบภัยกลับสู่ภาวะปกติหรือดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม
กิจกรรมการฟื้นฟูสภาพและการซ่อมสร้างที่ส าคัญ มีดังนี้
2.3.1 การประเมินความเสียหายและความสูญเสีย เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบจากสาธารณภัยที่
ประมาณการเชิงปริมาณว่าเกิดผลกระทบอะไรจากเหตุสาธารณภัยโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากพื้นที่ประสบภัย แล้ว
น าผลการประเมินไปใช้ประมาณการซ่อมสร้างสิ่งที่เสียหายและการวางแผนการฟื้นฟูจากความสูญเสียที่เกิดขึ้น
2.3.2 การฟื้นฟูสภาพผู้ประสบภัย เป็นการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ประสบภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
รวมถึงการเสริมสร้างความพร้อมที่จะรับมือและฟื้นกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วของบุคคล และพื้นที่ที่
ประสบภัยส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการบริการด้านสุขภาพ
42